งานชันสูตรโรค

บริบท (Context)

ก. หน้าที่และเป้าหมาย

หน้าที่

                งานชันสูตรสาธารณสุขมีหน้าที่ตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ พร้อมให้ข้อมูลผลตรวจวิเคราะห์ที่ถูกต้อง รวดเร็วทันเวลา เพื่อใช้ประกอบในการวินิจฉัยโรค ติดตามความก้าวหน้าในการรักษา ให้บริการโลหิตอย่างเพียงพอและปลอดภัย

เป้าหมาย

รายการตัวชี้วัด เป้าหมาย
1.ร้อยละการทดสอบที่มีการควบคุมคุณภาพภายใน

1.1 งานเคมีคลินิก

1.2 งานภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก

1.3 งานจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก

1.4 งานโลหิตวิทยาคลินิก

1.5 งานธนาคารเลือด

1.6 งานจุลชีววิทยาคลินิก

 

100 %

100 %

100 %

100 %

100 %

100 %

2. ผลการควบคุมคุณภาพภายนอก

2.1 งานเคมีคลินิก

2.2 งานภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก

– กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

– Anti – HIV ศวก.ชลบุรี

2.3 งานจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก

2.4 งานโลหิตวิทยาคลินิก

2.5 งานธนาคารเลือด

2.6 งานจุลชีววิทยาคลินิก

 

MVIS<100

 

ผ่านเกณฑ์

>80 %

>3.0

>3.0

>3.5

>3.0

3. ร้อยละการรายงานผลผิด <0.1 %
4. ร้อยละการรายงานผลทันเวลาที่กำหนด

– ผลด่วน

– ผลปกติ

 

90%

80 %

5. ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการ >80 %
6. จำนวนครั้งการจ่ายโลหิตผิดหมู่ 0
7. ร้อยละของการปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ <5%

ข. ขอบเขตการให้บริการ

ให้บริการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทั้งในเวลา (วันจันทร์  – วันศุกร์ เวลา 08.00-16.00น.)  และให้บริการนอกเวลาราชการ(วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา16.00 – 24.00น.และวันเสาร์/วันอาทิตย์/วันหยุดนขัตฤกษ์ ให้บริการเวลา 08.00-24.00น. รวมถึงปฏิบัติงาน On call เวลา24.00- 08.00น.) โดยตรวจวิเคราะห์ในด้านต่างๆดังนี้

  1. ตรวจทางโลหิตวิทยา(Hematology) ได้แก่ CBC , ESR , Blood smear , Bleeding time , VCT , Malaria , Microfilaria , OF , DCIP , Reticulocyte count ,PT ,INR
  2. ตรวจทางจุลทรรศน์ศาสตร์ (Microscopy) ได้แก่ U/A , Stool exam. , Stool occult blood,

Sperm count , Sperm analysis , Body fluid examination.,Micro albumin

  1. ตรวจทางเคมีคลินิก (Biochemistry) ได้แก่ FBS , BUN , Creatinine , Cholesterol , Triglyceride , HDL-Cholesterol , LDL-Cholesterol , Uric acid , Total protein , Albumin , Total billirubin , Direct billirubin  , SGOT , SGPT , Alkaline phosphatase , CSF protein , CSF glucose ,   Na , K , Cl , TCO2.,Calcium , Magnesium , Phosphourus , Amylase , Direct LDL-Cholesterol.
  2. ตรวจทางจุลชีววิทยา (Micro biology) ได้แก่ Gram’stain , AFB , KOH prep. ,

Indian INK , Wet smear , Modified AFB , Tzank test

  1. ตรวจทางภูมิคุ้มกันวิทยา (Immunology) ได้แก่ Anti-HIV , HBsAg , HBsAb , VDRL , Widal test , RF , Urine Pregnancy test , Methamphetamine,.Malijuana
  2. บริการด้านธนาคารเลือด ได้แก่ Cross matching , ABO group , Rh group , DCT , ICT, Ab Screening , รับบริจาคโลหิต

ง. ประเด็นคุณภาพที่สำคัญ

  1. ผลการตรวจวิเคราะห์ถูกต้อง และแม่นยำ
  2. ผลการตรวจวิเคราะห์รวดเร็วทันเวลา เป็นที่พึงพอใจของผู้รับบริการ
  3. การให้บริการโลหิตที่ปลอดภัยและเพียงพอ

 จ. ความท้าทาย ความเสี่ยงที่สำคัญ

ความท้าทาย

– พัฒนาการควบคุมคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ให้สมบูรณ์ ครบถ้วน

– พัฒนาการจัดหาโลหิตให้เพียงพอ

– พัฒนาระบบบริหารงานคุณภาพให้ได้ตามมาตรฐานงานเทคนิคการแพทย์ 2555 และได้รับการรับรองจากสภาเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย

ความเสี่ยงสำคัญ

  1. การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจที่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม
  2. ผลการตรวจวิเคราะห์ไม่ถูกต้อง

3.พิมพ์ผลการตรวจผ่านระบบ LAN ผิดพลาด

4.สิทธิผู้ป่วยและการเปิดเผยความลับ

5.การเกิดภาวะ Hypoglycemia , Hyperglycemia ของผู้ป่วยขณะรอรับบริการ

6.การรายงานผลตรวจที่ต้องการผลด่วน ไม่ทันตามเวลาที่กำหนด

7.การจ่ายโลหิตผิดหมู่

8.เครื่องมือตรวจวิเคราะห์เสียหริอขัดข้องขณะให้บริการ

9.ความไม่พึงพอใจจากผู้รับบริการ

10.หนูในห้องปฏิบัติการชุกชุม

จุดเน้นในการพัฒนา

– เรื่องความปลอดภัยของผู้รับบริการขณะรับบริการหรือรอรับบริการโดยเน้นไปที่ผู้ป่วยคลินิกเบาหวานซึ่งจะมารับบริการพร้อมกันคราวละมากๆในการกำหนดแนวทางป้องกันการเกิดภาวะ hypoglycemia / hyperglycemia โดยการคัดกรองสอบถามอาการ การให้คำแนะนำ การรายงานผลตรวจที่เป็นค่าวิกฤติและประสานบริการ

– ลดอัตราการปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ โดย feed back ข้อมูลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้คำแนะนำ ในการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องเหมาะสม

– เรื่องความพึงพอใจในการรับบริการโดยเน้นเรื่องพฤติกรรมบริการของเจ้าหน้าที่ การให้บริการตามลำดับคิว ความสะดวกเรื่องที่นั่งรอ ห้องน้ำ อุณหภูมิ

– ส่งเสริมสุขภาพของผู้รับบริการและเจ้าหน้าทีด้วยการให้การสนับสนุนด้านการตรวจสุขภาพประจำปี

-จัดระบบการให้บริการผู้สูงอายุให้สอดคล้องและรองรับกับวิสัยทัศน์ของโรงพยาบาล

– จัดระบบการเก็บข้อมูลและสถิติทางห้องปฏิบัติการให้ได้ครบถ้วน

-พัฒนาระบบการให้บริการตรวจสุขภาพกลุ่มเป้าหมายคราวละมากๆ

-เตรียมความพร้อมการให้บริการตรวจด้านอาชีวะอนามัยเพื่อรองรับนโยบายจากผู้บริหาร

ผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑

เทคนิคการแพทย์

ติดต่องานชันสูตรโรค เบอร์โทร ๐๓๘๕๓๑๒๘๖-๗ ต่อ ๓๐๔  Email : labbpkhp10852@hotmail.com