งานกุมารเวชกรรม

งานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลบางปะกง
อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

บริบท (context)

  • ความมุ่งหมาย(Purpose)

ให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กแบบองค์รวมโดยสหสาขาวิชาชีพ เพื่อให้ผู้ป่วยหายจากโรคปลอดภัย  ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน  เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ  ญาติสามารถดูแลต่อเนื่องได้และผู้รับบริการพึงพอใจ

  • ขอบเขตบริการ(Scope of service)

งานบริการ  (เริ่มเปิดดำเนินการงานกุมารเวชกรรมตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๖๑)  ให้บริการผู้ป่วยตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ  ๑๕ ปี ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ทั้งผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤติและโรคทั่วไป ตามศักยภาพโรงพยาบาลทุติยภูมิ ระดับ F๑  มีเตียงสามัญ ๘ เตียง ห้องแยกโรคระบบทางเดินหายใจ ๖ เตียง ห้องแยกทั่วไป ๓ เตียง และห้องทารกแรกเกิดป่วย(Sick new born) ๔ เตียง  รับย้ายทารกที่มีปัญหาไม่ซับซ้อนจากโรงพยาบาลพุทธโสธรและโรงพยาบาลใกล้เคียง มาดูแลรักษาต่อจนจำหน่ายกลับบ้าน

ข้อจำกัด  มีข้อจำกัดในขีดความสามารถด้านการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคที่ซับซ้อน ได้แก่ โรคที่ต้องอาศัยกุมารแพทย์เฉพาะทาง  เช่น โรคทางศัลยกรรมเด็ก ,โรคหัวใจ ,โรคระบบประสาทที่ซับซ้อน และทารกแรกเกิดที่มีปัญหาหายใจเองไม่ได้  ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ  โดยผู้ป่วยโรคเหล่านี้จะถูกส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่มีขีดความสามารถสูงกว่า ได้แก่ โรงพยาบาลพุทธโสธร

สถิติ ๕ อันดับโรค ผู้ป่วยในกุมารเวชกรรม(อายุ ๐-๑๕ ปี) ปี๒๕๖๕

ปีงบประมาณ ๒๕๖๕
ลำดับ โรค จำนวน(ราย)
Neonatal jaundice ๖๗
Pneumonia ๕๕
AGE ๓๘
DF ๒๘
Febrile convulsion ๒๓

การพัฒนาที่อยู่ในระหว่างดำเนินการ

๑. พัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคที่พบบ่อย ๕ อันดับโรค
๒. การลดอัตราการส่งต่อทารกตัวเหลือง
๓. การลดภาวะทารกตัวเหลืองในรายที่ไม่ได้ติดตามนัด
๔. การพัฒนาบุคลากรอบรมการพยาบาลเด็กหลักสูตรระยะสั้นสถาบันเด็กแห่งชาติมหาราชินี(ปีละ ๒ คน)
๕. การพัฒนาบุคลากรอบรมการพยาบาลเด็กเฉพาะทาง ๔ เดือน แผนฯปี ๒๕๖๖ จำนวน  ๑ คน (ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ผ่านการอบรมแล้ว ๑ คน)
๖. การอบรมฟื้นฟูการช่วยฟื้นคืนชีพ(CPR) ต่อเนื่องทุกปี
๗. การพัฒนาโครงสร้างอาคารสถานที่ให้สอดคล้อง รองรับผู้ป่วยเด็กทุกสถานการณ์
๘. การจัดมุมส่งเสริมพัฒนาเด็กในหน่วยงาน
๙. การนิเทศ ติดตาม โดยหัวหน้างาน ให้พยาบาลทุกคนปฏิบัติตาม CPG แนวทางการดูแลผู้ป่วยเด็ก
๑๐. การสรรหาอัตรากำลังให้เพียงพอกับภาระงาน