งานผู้ป่วยห้องคลอด

 

  1. บริบท

ความมุ่งหมาย : งานห้องคลอดโรงพยาบาลบางปะกงให้บริการการคลอดที่มีคุณภาพ ตามมาตรฐานวิชาชีพ มารดาและทารกปลอดภัย ไร้ภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ  เกิดความพึงพอใจทั้งผู้ให้ และผู้รับบริการ

ขอบเขตบริการ : ให้บริการทางสูติกรรมตลอด 24 ชั่วโมง  ตามศักยภาพโรงพยาบาล   บริการหญิงตั้งครรภ์และผู้คลอดที่มีอายุครรภ์  28 สัปดาห์ขึ้นไปทั้งภาวะปกติและภาวะผิดปกติ    บริการการคลอดปกติและคลอดผิดปกติ  ผู้รับบริการที่มีปัญหาซับซ้อนเกินศักยภาพในการดูแลรักษาจะได้รับการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลพุทธโสธร

ความต้องการของผู้รับบริการ : ส่วนใหญ่ได้แก่  การได้รับข้อมูลและการดูแลเอาใจใส่จากแพทย์และพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ความต้องการของญาติ ได้แก่ ความปลอดภัยของแม่และลูก การได้รับข้อมูลอย่างต่อเนื่อง  และความสะดวกสบายขณะพักรอ ความต้องการของผู้รับผลงานภายในที่สำคัญ ได้แก่ ประสานงานที่ดี การส่งต่อข้อมูล และการส่งต่อผู้ป่วยอย่างถูกต้องครบถ้วน

ประเด็นคุณภาพที่สำคัญได้แก่ ลูกเกิดรอด  แม่ปลอดภัย ได้มาตรฐานวิชาชีพ ผู้รับบริการพึงพอใจ

ลักษณะสำคัญของงานบริการ และปริมาณงาน ปี 2560 มีผู้รับบริการการคลอดทั้งหมดจำนวน  995  ราย  มารดาคลอดปกติ 870 ราย คลอดผิดปกติ 125 ราย ครรภ์เดี่ยว (คลอดปกติทางช่องคลอด) 994 รายครรภ์แฝด 1 ราย จำนวนเด็กเกิด 996 ราย เกิดมีชีพ 994 ราย เกิดไร้ชีพ 2 ราย ปัญหาและภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย ได้แก่ ภาวะตกเลือดหลังคลอด ภาวะเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด

ศักยภาพและข้อจำกัดในด้านผู้ปฏิบัติงาน เครื่องมือเทคโนโลยี :งานห้องคลอดมีเตียงรอคลอด 6 เตียง  เตียงคลอด 2 เตียง  สูติแพทย์ 1 ท่าน พยาบาลวิชาชีพ 8 คน ผู้ช่วยเหลือคนไข้ 3 คน  เครื่องมือและอุปกรณ์ที่สำคัญในการให้บริการ ได้แก่ Ultrasound 1 เครื่อง, NST 4 เครื่อง, Electro Fetal Monitoring 2 เครื่อง O2 saturation 1 เครื่อง , infusion pump 4 เครื่อง, radiant warmer 2 เครื่อง , Transport Incubation 1 เครื่อง และถุงถั่วเขียว 2 ถุงเพื่อป้องกันทารกเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำ

ความท้าทายที่สำคัญ ได้แก่  พัฒนาทักษะการเฝ้าระวังและช่วยเหลือในภาวะวิกฤติ  พัฒนา การดูแลรูปแบบ Humanized Health care

ประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพที่เกี่ยวข้อง : มีการส่งเสริมสุขภาพและการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ โดยมีการเสริมพลังผู้ป่วยป่วยและญาติ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้ารับบริการ โดยใช้กระบวนการโรงเรียนพ่อแม่ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในรายที่ไม่มีข้อห้าม และไม่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด ซึ่งทารกได้รับการ Early bonding Early sucking ภายใน 30 นาที

ด้านผู้ให้บริการ ส่งเสริมเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อ เช่น การปฏิบัติงานตามหลัก UP การปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากของมีคมทิ่มตำ  มีการพัฒนาศักยภาพบุคลากร การส่งเสริมสุขภาพและการสร้างความสุขในการทำงานของบุคลากร  

ด้านสถานที่ มีการปรับปรุงห้องคลอด ให้เป็นสัดส่วน จัดทำห้องสำหรับให้ญาติเข้าเยี่ยม มีแผ่นพับให้ความรู้ บอร์ดท่าออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์  ปิดป้ายเตือนไม่ให้ล็อคประตู ติดตั้งกริ่งขอความช่วยเหลือในห้องน้ำเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจะช่วยเหลือได้ทันที

ขั้นตอนการบริการงานห้องคลอด
ขั้นตอนการรับใหม่
1.ชั่งน้ำหนัก
2.สอบถามประวัติ
3.ตรวจครรภ์
4.ตรวจภายใน นำส่ง พร้อมรถพยาบาล
5.แนะนำสถานที่
6.เก็บทรัพย์สิน รวมทั้งโทรศัพท์มือถือมีค่าฝากญาติไว้  

การบริการการรอคลอด      1.ได้รับการดูแลจากสูติแพทย์และพยาบาลวิชาชีพ
2.สามี-ญาติเข้าเยี่ยมรับทราบอาการเป็นระยะๆ
3.ในรายที่ต้องรับการส่งต่อจะมีพยาบาลวิชาชีพนำส่งพร้อมรถพยาบาล

 

ค่าบริการทางการคลอด

 

        การใช้สิทธิ์ประกันสังคม                                            การใช้บัตรประกันสุขภาพ

  • มารดาสำรองจ่ายค่ารักษาทั้งหมดแล้ว          • ประกันสุขภาพในเขต มารดาไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

นำไปเบิกคืนตามสิทธิ์                                          • ประกันสุขภาพนอกเขต มารดาเสียค่าใช้จ่ายทั้งหมด

ค่าบริการทางการคลอด

  1. คลอดปกติ ค่ารักษาพยาบาล 4,000-5,000 บาท
  2. คลอดผิดปกติ
  • ใช้เครื่องมือช่วยคลอด 6,000 บาท
  •  ผ่าตัดคลอด 20,000 บาท

  • ค่าห้องพิเศษวันละ 1,500 บาท
  • ค่าห้องพิเศษรวมวันละ 1,200 บาท
  • ค่าห้องรวมวันละ 400 บาท

 

 

[smartslider3 slider=20]
ผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑
ติดต่อห้องคลอด โทร ๐๓๘-๕๓๑๒๘๖-๗ ต่อ  ๔๐๒,๔๐๔  Email : phimala_l@yahoo.com