จดหมายข่าว (FDA 8 riew Newsletter) ปีที่ 1 ฉบับที่ 6

จดหมายข่าว (FDA 8 riew Newsletter) ปีที่ 1 ฉบับที่ 6 

คลิกเพื่ออ่านจดหมายข่าวฉบับเต็ม

จดหมายข่าว (FDA 8 riew Newsletter) ปีที่ 1 ฉบับที่ 5

จดหมายข่าว (FDA 8 riew Newsletter) ปีที่ 1 ฉบับที่ 5 

คลิกเพื่ออ่านจดหมายข่าวฉบับเต็ม

เตือนภัย!! อย่าซื้อไส้กรอกที่ไม่มีเลข อย. หรือไม่ทราบแหล่งผลิต!!

เตือนภัย !!  อย่าซื้อไส้กรอกที่ไม่มีเลข อย. หรือไม่ทราบแหล่งผลิต !!

กระทรวงสาธารณสุข ขอเชิญชวนร้านขายยา คลินิก หน่วยบริการ ภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมโครงการระบบ Mohpromt Station

เตือนชายไทยระวังถูกหลอก โฆษณาเสริมอาหาร I-RD อ้างช่วยให้ฟิตปึ๋งปั๋ง ย้ำผู้ขายมีความผิด ผู้บริโภคมีความเสี่ยง

อย. เตือนชายไทยระวังถูกหลอก โฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร I-RD ทางสื่อออนไลน์อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงในทำนองช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศ ย้ำไม่มีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดใดช่วยเพิ่มขนาดหรือรักษาผู้ที่เสื่อมสมรรถภาพทางเพศให้หายได้ อย่าหลงเชื่อซื้อมารับประทานโดยเด็ดขาด อาจสูญเสียเงินและเป็นอันตรายได้ ผู้ที่มีปัญหาควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการรักษาและฟื้นฟูเท่านั้น เตือนผู้ขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผ่านสื่อทุกช่องทาง ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายมีโทษทั้งจำและปรับ

            นายแพทย์พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคให้ตรวจสอบการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร I-RD ซึ่งพบว่ามีการโฆษณาอ้างสรรพคุณเกินจริงผ่านทางสื่อเฟซบุ๊กชื่อ “Wipavadee Choopong” นั้น อย. ตรวจสอบข้อเท็จจริงตามเรื่องร้องเรียนพบการโฆษณาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแสดงข้อความในทำนองช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศ …คุณค่าที่ชายไทยคู่ควร I-RD #ชายท่านใดที่มีปัญหาเรื่องบนเตียงไอเรทช่วยคุณได้ ซึ่งข้อความเหล่านี้เป็นการโฆษณาที่ไม่ได้รับอนุญาต และเป็นการโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารอันเป็นเท็จหรือเป็นการหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทุกชนิดเป็นเพียงอาหารชนิดหนึ่งไม่มีคุณสมบัติในการรักษาโรคต่าง ๆ และไม่ได้ช่วยเพิ่มขนาดหรือรักษาผู้ที่เสื่อมสมรรถภาพทางเพศให้หายขาดได้ ขอให้ผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมารับประทานโดยเด็ดขาด เพราะนอกจากจะเสียเงินโดยไม่มีความจำเป็นแล้ว หากมีโรคประจำตัวอาจได้รับผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกายโดยคาดไม่ถึงได้ สำหรับผู้ที่มีปัญหาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ควรเข้ารับการปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการรักษาและฟื้นฟูเท่านั้น เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ตรงจุด

อ่านข่าวฉบับเต็ม

อย. สนธิกำลังทลายแหล่งผลิตยา 4 x 100 ครั้งใหญ่ย่านตลิ่งชัน ลักลอบขายในหมู่เยาวชนนำไปใช้ในทางที่ผิด มูลค่ากว่า 20 ล้านบาท

อย. ร่วมกับ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ บุกทลายบริษัท เอช.เค.ฟาร์มาซูติคอล จำกัด ลักลอบผลิตยา 4 x 100 ย่านตลิ่งชัน ภายในพบผลิตยาไม่มีเลขทะเบียนตำรับยา ลักษณะเป็นยาแคบซูลสีเขียวเหลือง ลักลอบจำหน่ายให้กับกลุ่มเยาวชนนำไปใช้เป็นส่วนประกอบ  4 x 100 โดยตรวจพบเอกสารการผลิตและการขายที่ได้กระจายสินค้าไปแล้วกว่า 7,000,000 แคปซูล มูลค่ากว่า 20 ล้านบาท ย้ำเตือนโรงงานผลิตยา อย่าได้ลักลอบผลิตยาที่ไม่ขึ้นทะเบียนตำรับยา มีโทษหนักเตือนผู้ปกครองหมั่นสอดส่องดูแลบุตรหลาน อย่าใช้ยาในทางที่ผิด เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

          เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2561 นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา พร้อมด้วย นายแพทย์สุรโชค ต่างวิวัฒน์ นายแพทย์พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และ เภสัชกรประพนธ์ อางตระกูล ที่ปรึกษา อย. ร่วมกับศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมด้วยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ นำทีมโดย พล.ต.ต. สุรเชษฐ์ หักพาล ผบช.สตม. สนธิกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจของศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส.ตร.) เปิดปฏิบัติการ “กวาดล้างยาทรามาดอลครั้งใหญ่” โดยร่วมกันแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ทำการสืบสวนกรณีการลักลอบขายยาทรามาดอล แคปซูลเขียว – เหลือง ให้กับกลุ่มเยาวชนนำไปใช้เป็นส่วนประกอบ 4 x 100 ฉลากระบุ TRADOL ประกอบไปด้วย ทรามาดอล 50 มิลลิกรัมต่อแคปซูล ฉลากไม่ระบุแหล่งผลิต จากการตรวจสอบพบเอกสารการผลิตและฉลากที่ได้มีการส่งและรับสินค้า จำนวน 7,500 กระปุกๆ ละ 1,000 แคปซูล  โดยเจ้าของได้ยอมรับว่ามีการส่งสินค้าออกไปยังท้องตลาดแล้ว รวมมูลค่าของกลางที่ยึดได้รวมกว่า 20 ล้านบาท จึงได้แจ้งข้อกล่าวหาว่าผลิตยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ฯลฯ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อ่านข่าวฉบับเต็ม (คลิก)

พบผลิตภัณฑ์นมผึ้ง (Royal jelly) โฆษณาเกินจริงทางสื่อออนไลน์!! เตือนผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อ

พบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารปลอม โฆษณาทางสื่อออนไลน์ ประชาชนอย่าหลงเชื่อ

คลิกเพื่ออ่านข่าวฉบับเต็ม

พบผลิตภัณฑ์นมผึ้ง (Royal jelly) โฆษณาเกินจริงทางสื่อออนไลน์ ตรวจสอบเลขสารบบอาหารถูกยกเลิกไปแล้วตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2560 เข้าข่ายเป็นผลิตภัณฑ์อาหารปลอม และเป็นการโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต อย. ดาเนินการระงับโฆษณา เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อซื้อมาบริโภค อาจได้รับอันตราย

นพ. พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนขอให้ตรวจสอบเว็บไซต์ http://www.facebook.com/phiriya.ladpala จากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นพบเฟซบุ๊ก ชื่อ Noolek Phiriya มีภาพและข้อความโฆษณาผลิตภัณฑ์ Wealthy Health Royal Jelly ด้วยข้อความที่ไม่ได้รับอนุญาต เช่น “นมผึ้งแท้ 100% เป็นยาอายุวัฒนะที่อัศจรรย์ ช่วยผู้ป่วยมะเร็งในระยะแพร่กระจาย ต่อต้าน การเจริญเติบโตของเชื้อแบคที่เรียและเชื้อดื้อยา ต่อต้านอนุมูลอิสระ สุขภาพผิวดี ดูอ่อนกว่าวัย” เป็นต้น และยังพบเว็บไซต์ที่มีการโฆษณาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตอีก 2 เว็บไซต์ คือ http://www.อาหารเสริมนมผึ้ง.com และ http://www.wealthyhealth-th.com เมื่อตรวจสอบฉลากผลิตภัณฑ์พบระบุชื่อ นมผึ้ง (Royal jelly) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (ตรา ดับเบิ้ลยูเอช รอยัลเยลลี่ 1000 มก.) เลขสารบบอาหาร 10-3-32257-1-0001 นาเข้าและ จัดจาหน่ายโดย บริษัท กู๊ดเฮลท์ อินเตอร์เทรดดิ้ง จากัด จากการตรวจสอบเลขสารบบอาหาร พบข้อมูลผู้ประกอบการแจ้งยกเลิกไปแล้วตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2560 ผลิตภัณฑ์ที่พบในท้องตลาดหลังจากนี้ อาจเข้าข่ายเป็นผลิตภัณฑ์อาหารปลอม การโฆษณาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจึงถือเป็น การโฆษณาคุณประโยชน์ หรือสรรพคุณเป็นเท็จและเป็นโฆษณาที่ไม่ได้รับอนุญาต มีความผิด ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 โฆษณาสรรพคุณของอาหารด้วยข้อความที่ไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท โดย อย. ได้มีหนังสือสั่งระงับการโฆษณา รวมทั้งดาเนินการ ตามกฎหมายกับผู้กระทาการโฆษณาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแล้ว

รองเลขาธิการ ฯ กล่าวต่อไปว่า ขอแจ้งเตือนผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อ ตกเป็นเหยื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริงทางสื่อออนไลน์ ขอให้ผู้บริโภคดูแลสุขภาพของตนเอง ระมัดระวังการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาจได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิต หากผู้บริโภครับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แล้วมีอาการผิดปกติหรือพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือ E-mail:1556@fda.moph.go.th หรือตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11000 หรือผ่านทาง Oryor Smart Application หรือสานักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

คลิกเพื่ออ่านข่าวฉบับเต็ม

ด่วน ! อย. เพิกถอนทะเบียนและใบอนุญาต ผลิตภัณฑ์ยาจุดกันยุง เรนเจอร์ สเก้าท์ และอาท พลัส ยาจุดกันยุง 1 แล้ว

 อย. เพิกถอนทะเบียนและใบอนุญาตผลิตภัณฑ์ยาจุดกันยุง เรนเจอร์ สเก้าท์ และผลิตภัณฑ์ อาท พลัส  ยาจุดกันยุง 1 หลังพบสารที่ใช้ เป็นสารที่ อย. ยังไม่เคยรับขึ้นทะเบียนมาก่อน และยังไม่ผ่านการประเมินด้านประสิทธิภาพ ความปลอดภัย จึงขอให้ผู้นำเข้าเรียกเก็บคืนไปยังประเทศผู้ผลิต หรือทำลาย สำหรับผู้ขายให้คืนกับผู้ที่ตนซื้อมา ส่วนผู้ใช้ไม่ควรใช้และห้ามส่งมอบต่อให้บุคคลอื่นเพื่อใช้จุดกันยุงเด็ดขาด   

           เภสัชกร สมชาย ปรีชาทวีกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้มีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนและใบอนุญาตผลิตภัณฑ์ยาจุดกันยุง เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2561 ที่ผ่านมาโดยตรวจพบผลิตภัณฑ์ยาจุดกันยุง เรนเจอร์ สเก้าท์ ทะเบียนเลขที่ 537/2555 ใบอนุญาตนำเข้าวัตถุอันตรายเลขที่ 126/2555 ใบอนุญาตส่งออกวัตถุอันตรายเลขที่ 8/2558 และผลิตภัณฑ์อาท พลัส ยาจุดกันยุง 1 ทะเบียนเลขที่ 9/2558 ใบอนุญาตนำเข้าวัตถุอันตรายเลขที่ 2/2558 (ปัจจุบันหมดอายุแล้ว) ใบอนุญาตส่งออกวัตถุอันตรายเลขที่ 74/2559 นำเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน โดย บริษัท ธนัทกร อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผลการตรวจไม่พบสารสำคัญ d-Allethrin ตามที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ นอกจากนี้ ยังตรวจพบสาร Bioallethrin สาร Meperfluthrin และสาร Heptafluthrin ซึ่งไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ สำหรับสาร Meperfluthrin และสาร Heptafluthrin เป็นสารที่ อย. ไม่เคยรับขึ้นทะเบียนมาก่อน ประกอบกับองค์การอนามัยโลกยังไม่มีการบรรจุสารนี้ในรายชื่อให้ใช้ได้ในการกำจัดและไล่แมลง โดยไม่มีการศึกษาปริมาณการใช้ที่เหมาะสม และสารนี้ยัง  ไม่ผ่านการประเมินด้านประสิทธิภาพ ความปลอดภัย ความเหมาะสมของอัตราการใช้ สำหรับคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ได้ ซึ่งสารทั้ง 3 ชนิดนี้จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ต้องขึ้นทะเบียนก่อนนำเข้า เมื่อได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนแล้วจึงออกใบอนุญาตนำเข้าได้ เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบไม่พบสารสำคัญตามที่ขึ้นทะเบียน แต่กลับพบสารอื่นที่ อย.ไม่เคยรับขึ้นทะเบียนมาก่อนเข้าข่ายเป็นสิ่งที่ทำเทียมวัตถุอันตรายแท้ทั้งหมดหรือบางส่วน และจัดเป็นวัตถุอันตรายปลอม ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค อย.จึงได้เพิกถอนทะเบียนและใบอนุญาตผลิตภัณฑ์ยาจุดกันยุงดังกล่าว ตามคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ 478/2561 ลงวันที่ 21 กันยายน 2561

  จึงขอให้ผู้นำเข้าเรียกเก็บคืนผลิตภัณฑ์ยาจุดกันยุง เรนเจอร์ สเก้าท์  และผลิตภัณฑ์ อาท พลัส ยาจุด   กันยุง 1 จากผู้มีไว้ในครอบครอง และรวบรวมส่งคืนไปยังประเทศผู้ผลิต หรือหากไม่ประสงค์คืนไปยังประเทศผู้ผลิตให้แจ้ง อย. ทราบเพื่อควบคุมการทำลาย สำหรับผู้ขายให้คืนผู้ที่ตนซื้อมา หรือขายคืนให้กับผู้นำเข้าสำหรับผู้บริโภคไม่ควรใช้และห้ามส่งมอบต่อให้บุคคลอื่นเพื่อใช้จุดกันยุง รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวในที่สุด