ขั้นตอนการติดต่อตามพรบ.อำนวยความสะดวกแก่ประชาชน(คู่มือประชาชน)

  1. ขั้นตอนสำหรับประชาชนตามกฎหมาย อาหาร
  2. ขั้นตอนสำหรับประชาชนตามกฎหมาย ยา
  3. ขั้นตอนสำหรับประชาชนตามกฎหมาย วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
  4. ขั้นตอนสำหรับประชาชนตามกฎหมาย ยาเสพติดให้โทษ
  5. ขั้นตอนสำหรับประชาชนตามกฎหมาย เครื่องสำอาง
  6. ขั้นตอนสำหรับประชาชนตามกฎหมาย เครื่องมือแพทย์
  7. ขั้นตอนสำหรับประชาชนตามกฎหมาย วัตถุอันตราย
  8. ขั้นตอนสำหรับประชาชนตามกฎหมาย สถานพยาบาล
  9. ขั้นตอนสำหรับประชาชนตามกฎหมาย สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ

การจัดทำบัญชียาสำหรับร้านขายยาแผนปัจจุบัน

ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง กำหนดแบบคำขอและใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน ลงวันที่16 พฤษภาคม พ.ศ.2557   (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา กันยายน พ.ศ.2557 ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/172/9.PDF) กำหนดให้จัดทำบัญชีดังนี้

1. บัญชีการซื้อยา ให้จัดทำบัญชีการซื้อยาแต่ละอย่างทุกครั้งโดยแสดงเลขที่หรืออักษรของครั้งที่ ผลิต ชื่อผู้ขาย (ดูให้ดี กฎหมายใช้คำว่า “ผู้ขาย” คือ คนที่ไปซื้อยากับเขา ไม่ใช่ “บริษัทที่ผลิต”) ยาที่ขาย ชื่อ และปริมาณยา ตลอดจนวัน เดือน ปีที่ซื้อ และลงรายชื่อผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ ตามแบบ ข.ย. 9

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ คลิก

2. บัญชีการขายยาอันตราย ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง รายการยาอันตรายที่ต้องทำบัญชีการขายยา ลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2558 ได้กำหนดรายการยาอันตรายที่ต้องทำบัญชี ตามแบบ ข.ย.11 ดังนี้  

 (1) ยาที่มีตัวยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นส่วนประกอบ ทั้งในตำรับยาเดี่ยว และยาสูตรผสม ทุกรูปแบบ

 (2) ยาที่มีตัวยาเดกซ์โตรเมธอร์แฟน (Dextromethorphan) เป็นส่วนประกอบในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม ทุกรูปแบบ

 (3) ยาที่มีตัวยาในกลุ่มแอนติฮีสตามีน (Antihistamine) ตามรายการที่แนบท้ายประกาศ ที่เป็นส่วนประกอบทั้งในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม เฉพาะที่เป็นยารูปแบบยาน้ำ

(3.1) บรอมเฟนนิรามีน (Brompheniramine)

(3.2) คาร์บิน็อกซามีน (Carbinoxamine)

(3.3) คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine)

(3.4) ไซโปรเฮปทาดีน (Cyproheptadine)

(3.5) เดกซ์คลอร์เฟนิรามีน (Dexchlorpheniramine)

(3.6) ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate)

(3.7) ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine)

(3.8) ด็อกซี่ลามีน (Doxylamine)

(3.9) ไฮดรอกซีซีน (Hydroxyzine)

(3.10) โปรเมทาซีน (Promethazine)

(3.11) ไตรโพรลิดีน (Triprolidine)

ดังนั้น เซทิริซีน ไซรัป (Cetirizine Syrup)ลอราทาดีน ไซรัป (Loratadine Syrup) ไม่ต้องทำบัญชี ข.ย.11 ในขณะนี้


ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่  คลิก

3. บัญชีการขายยาควบคุมพิเศษ  ตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2556 และประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง กำหนดแบบคำขอและใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2557 กำหนดให้จัดทำบัญชีการขายยาควบคุมพิเศษแต่ละอย่างทุกครั้งโดยแสดงเลขที่หรืออักษรของครั้งที่ผลิต ชื่อและปริมาณยา ตลอดจนวัน เดือน ปี ที่ขายตามแบบ ข.ย. 10 และให้เก็บบัญชีไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า สามปีนับแต่วันขาย  ซึ่งแบบตามแบบ ข.ย. 10 ใบหนึ่งเขียนได้เฉพาะชื่อการค้าเดียวและเลขที่หรืออักษรของครั้งที่ผลิตเดียวเท่านั้น ที่สำคัญ คือ แบบ ข.ย.10 นี้ ให้ระบุชื่อผู้ซื้อด้วย)


ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ คลิก

4. บัญชีการขายยาตามประเภทที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนด  รายการยาที่ต้องรายงานต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2558 กำหนดให้ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะที่เป็นขายส่ง และผู้รับอนุญาตขายส่งยาแผนปัจจุบัน รายงานการขายยาตามแบบ ข.ย.13 ทุก 4 เดือน และส่งรายงานต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาภายใน 30 วันนับแต่วันครบกำหนด 4 เดือน โดยมีรายการยาที่ต้องทำบัญชี ข.ย.13 ดังนี้

(1)  ยาที่มีตัวยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นส่วนประกอบในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม ทุกรูปแบบ
(2) ยาที่มีตัวยาเดกซ์โตรเมธอร์แฟน (Dextromethorphan) เป็นส่วนประกอบในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม ทุกรูปแบบ
(3) ยาที่มีตัวยาในกลุ่มแอนติฮีสตามีน (Antihistamine) ตามรายการที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ที่เป็นส่วนประกอบทั้งในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม เฉพาะที่เป็นยารูปแบบยาน้ำ
(3.1) บรอมเฟนนิรามีน (Brompheniramine)
(3.2) คาร์บิน็อกซามีน (Carbinoxamine)
(3.3) คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine)
(3.4) ไซโปรเฮปทาดีน (Cyproheptadine)
(3.5) เดกซ์คลอร์เฟนิรามีน (Dexchlorpheniramine)
(3.6) ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate)
(3.7) ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine)
(3.8) ด็อกซี่ลามีน (Doxylamine)
(3.9) ไฮดรอกซีซีน (Hydroxyzine)
(3.10) โปรเมทาซีน (Promethazine)
(3.11) ไตรโพรลิดีน (Triprolidine)
(4) ยาที่มีตัวยาซิลเดนาฟิล (Sildenafil) หรือทาดาลาฟิล (Tadalafil) หรือวาเดนาฟิล (Vardenafil) ในตำรับยาเดี่ยว เฉพาะที่เป็นรูปแบบยาเม็ดและยาแคปซูล
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ คลิก

5. บัญชีขายยาตามใบสั่งยา บัญชีนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีการขายยาตามใบสั่งใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ ไม่ว่ายานั้นจะเป็นประเภทใดก็ตาม  และตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2556 และประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง กำหนดแบบคำขอและใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2557 ให้จัดทำบัญชีการขายยาแต่ละอย่างทุกครั้งที่ขายตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ โดยแสดงชื่อ อายุ และที่อยู่ของผู้ใช้ยา ชื่อ และที่อยู่หรือที่ทำงานของผู้สั่งยา ชื่อและปริมาณยา ตลอดจนวัน เดือน ปี ที่ขายตามแบบ ข.ย. 12 และให้เก็บใบสั่งยาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันขาย และให้เก็บบัญชีไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี นับแต่วันขาย


ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ คลิก

ความรู้สำหรับประชาชน : ไม่ชัวร์อย่าแชร์ หมูหยองไส้สำลี กรมวิทย์ตรวจสอบแล้ว ไม่จริง

จากข่าวลือที่แชร์กันอย่างแพร่หลายตามโซเชียลมีเดียและสื่อต่างๆว่ามีหมูหยองปลอมทำจากสำลี ล่าสุดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ตรวจสอบและพบว่า ข่าวลือดังกล่าวไม่เป้นความจริงแต่อย่างใด ขอให้ผู้บริโภคอย่าได้กังวลและตื่นตระหนก

Print

ความรู้สำหรับประชาชน : วิธีกินยาคุมกำเนิดที่ถูกต้อง

วิธีการรับประทานยาคุมกำเนิดที่ถูกต้อง
-เริ่มรับประทานวันแรกที่มีประจำเดือน (ช้ากว่านี้แต่ต้องไม่เกินวันที่ 5 ของรอบเดือน)
-รับประทานติดต่อกันทุกวันจนหมดแผงตามลำดับที่ฉลากยากำหนด
-ควรรับประทานยา เวลาเดียวกันทุกวัน เช่น ทุกวันตอนเย็น , ก่อนนอน
– แบบ 21 เม็ด ฮอร์โมนทั้งหมด รับประทานยา 21 วันหยุดยา 7 วัน เมื่อครบ 7 วันให้เริ่มแผงใหม่ได้เลย ประจำเดือนจะมาช่วงหยุดยา
-แบบ 28 เม็ด จะแบ่งเป็น ฮอร์โมน 21 เม็ด , แป้ง 7 เม็ด รับประทานยาติดต่อกันทุกวันจนหมดแผงแล้วรับประทานแผงใหม่ต่อได้เลย
ไม่ต้องหยุดยา ประจำเดือนจะมาช่วงที่รับประทานเม็ดที่ไม่มีฮอร์โมน

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

590801_Infographic_ยาคุมกินยังไง_1031

อย. เตือนอย่าซื้อยาผ่านเว็บไซต์ อันตรายถึงชีวิต

จากกรณีพบการโฆษณาขายยาผ่านทางเว็บไซต์ Lazada  อย. จะดำเนินการตามกฎหมายโดยเร็ว
เตือนผู้บริโภคอย่าซื้อยาผ่านทางเว็บไซต์เสี่ยงได้รับยาไม่มีคุณภาพ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

ข่าว 5 ตุลาคม 2560 - ขายยาผ่านทางเว็บไซต์ Lazada

แจ้งประชาสัมพันธ์ ประกาศกระทรวงฉบับใหม่ (เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง)

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง
เพื่อให้มีเกณฑ์มาตรฐานที่ชัดเจนในการใช้เป็นอาหาร และเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคยิ่งขึ้น

รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 387 พ.ศ. 2560

เรื่อง กำหนดวิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาผักหรือผลไม้สดบางชนิดและการแสดงฉลาก

ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม 134 ตอนพิเศษ 228 ง ลงวันที่ 18 กันยายน 2560 รายละเอียดดังปรากฎในประกระกาศฉบับเต็ม

คลิกที่นี่เพื่ออ่านประกาศฉบับเต็ม

แจ้งประชาสัมพันธ์ ประกาศกระทรวงฉบับใหม่ (กำหนดวิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาผักหรือผลไม้สดบางชนิดและการแสดงฉลาก)

โดยที่เป็นการสมควรกําหนดมาตรการในการกํากับดูแลความปลอดภัยผักและผลไม้สด ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อคุ้มครองให้ผู้บริโภคได้บริโภคผักและผลไม้สดที่มีคุณภาพและความปลอดภัย

รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 386 พ.ศ. 2560

เรื่อง กำหนดวิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิตและการเก็บรักษาผักหรือผลไม้สดบางชนิดและการแสดงฉลาก

ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม 134 ตอนพิเศษ 221 ง ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2560 รายละเอียดดังปรากฎในประกระกาศฉบับเต็ม

คลิกที่นี่เพื่ออ่านประกาศฉบับเต็ม

แบบฟอร์มสำหรับผู้ประกอบการเครื่องสำอาง

การขออนุมัติสถานที่ผลิต/นำเข้าเครื่องสำอาง (ขอใหม่)

โปรดอ่าน!!! แนวทางการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับสถานที่ประกอบการจดแจ้งเครื่องสำอาง และแนวทางการปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกี่ยวกับสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องสำอาง

  1. ขั้นตอนการขออนุญาตสถานที่ผลิต/นำเข้าเครื่องสำอาง (รายใหม่)
  2. รายการเอกสารที่ต้องยื่นเพื่อเอกสารเพื่อประกอบการขออนุมัติสถานที่ผลิตเครื่องสำอาง
  3. รายการเอกสารที่ต้องยื่นเพื่อเอกสารเพื่อประกอบการขออนุมัติสถานที่นำเข้าเครื่องสำอาง
  4. แบบตรวจประเมินสถานที่สาหรับการอนุมัติสถานที่ผลิต หรือสถานที่นำเข้าเครื่องสาอางก่อนยื่นจดแจ้ง
  5. คำอธิบายแบบตรวจสถานที่ผลิตเครื่องสำอาง ‘ขอใหม่’

ผู้ประกอบการ(รายเก่า)ที่ประสงค์ดำเนินกิจการต่อให้ปรับปรุงสถานที่ตามแบบตรวจประเมินสถานที่ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการผลิต หรือนำเข้าเครื่องสำอาง พ.ศ. 2561 (คลิก)  ก่อน 22 พ.ค.2563   

ขั้นตอนการขออนุญาตด้านเครื่องสำอาง ด้วยระบบ E-Submission

  1. ขอประทับตราหนังสือมอบอำนาจและขอรหัสประจำตัวผู้ประกอบการ* (คลิก)
  • ให้ผู้ประกอบการดาวโหลดแบบฟอร์มด้านล่าง แล้วกรอกข้อมูลและเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน นำมายื่นต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา
  • เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้ว เจ้าหน้าที่จะอนุมัติสิทธิ์แก่ผู้ประกอบการเพื่อให้กรอกข้อมูลสูตรในเว็บไซต์เองได้
  • หนังสือมอบอำนาจเข้าใช้ระบบ E-submission
  1. ผู้ประกอบการขอ ID ด้วยตนเอง โดยเข้าไปสมัครที่ระบบเว็บไซต์กลางบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พิมพ์ https://www.egov.go.th  (คู่มือการสมัครอยู่ด้านล่าง * )
  2. ผู้ประกอบการมารับรหัสประจำตัวผู้ประกอบการ และการกรอกข้อมูลของเครื่องสำอางในเว็บไซต์ https://privus.fda.moph.go.th/ 

คู่มือและโปรแกรมสำหรับติดตั้งเพื่อใช้งานระบบ E-Submission

ให้ผู้ประกอบการติดตั้งโปรแกรมต่อไปนี้ ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน เพื่อรองรับการใช้งานด้วยระบบ E-Submission

  • โปรแกรม Adobe Reader DC  >>>Download<<<
  • ฟอนต์แพ็ค (Font Pack) สำหรับ โปรแกมAdobe Reader DC  >>>Download<<<
  • โปรแกรมMozilla Firefox สำหรับ Windows  >>>Download<<<
  • โปรแกรมMozilla Firefox สำหรับ Windows 64 bit  >>>Download<<<
  • ฟอร์น TH Sarabun >>>Download<<<
  • คู่มือการตั้งค่าโปรแกรม Mozilla Firefox  >>>Download<<<
  • คู่มือการแก้ไขอีเมล์ของ Openid  >>>Download<<<
  • คู่มือการสมัคร Open ID *  >>>Download<<<

การขอเปลี่ยนแปลงชื่อ/ที่ตั้งสถานที่ผลิต สถานที่นำเข้า สถานที่เก็บเครื่องสำอาง

  1. ใบตรวจรับเอกสารการแจ้งเปลี่ยนแปลงชื่อ/ที่ตั้งสถานที่ผลิต สถานที่นำเข้า สถานที่เก็บเครื่องสำอาง (word)
  2. แบบคำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายละเอียดผู้ประกอบการ (word)  (pdf)

**** ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะผลิตเพื่อขาย /นำเข้าเพื่อขายเครื่องสำอาง ที่ได้รับใบจดแจ้งผ่านระบบ E-logistic และต้องการคงใบรับจดแจ้งเดิมเอาไว้  ให้ทำการถ่ายโอนข้อมูล ภายในวันที่ 8 กันยายน 2561 ตามขั้นตอนดังนี้ (คลิก)

การแจ้งข้อมูลสถานประกอบการเครื่องสำอาง เพื่อยืนยันการประกอบการ

แบบฟอร์ม