แบบฟอร์มด้านวัตถุอันตราย

แบบฟอร์ม
1. คำขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย (วอ.สธ 1)
2. คำขอต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย (วอ.สธ 7)
3. คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการการขึ้นทะเบียน (วอ. สธ 6)
4. คำขออนุญาตผลิตหรือนำเข้าตัวอย่างวัตถุอันตราย (วอ.สธ 8)
5. ค่าความเป็นพิษเฉียบพลัน(LD 50) ของผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย
6. แบบฟอร์มการส่งเอกสาร การแก้ไขข้อมูลเพิ่มเติม ขอผ่อนผันการส่งเอกสาร
7. หนังสือรับรองการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาต
8. หนังสือมอบอำนาจและแต่งตั้งผู้ดำเนินการ
9. สรุปรายการข้อมูลวัตถุอันตรายกรณีสารใหม่
10. คำขออนุญาตผลิตวัตถุอันตราย (วอ.1)

 

การแบ่งชนิดและการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายแต่ละชนิด

พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 จัดแบ่งวัตถุอันตรายออกเป็น 4 ชนิด ตามความเป็นอันตราย ความเสี่ยง และความจำเป็นในการควบคุม ดังนี้

วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 

เป็นวัตถุอันตรายที่ก่อให้เกิดผลกระทบน้อยกว่ากลุ่มอื่น กฎหมายกำหนดให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้า ไม่ต้องขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย แต่ต้องแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ และ​ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด เช่น การจัดทำฉลาก การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ในการผลิตและการเก็บรักษา เป็นต้น การแสดงฉลากจะต้องแสดงเลขที่รับแจ้งไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์

ตัวอย่างวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เช่น
•  ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เช่น ผลิตภัณฑ์ล้างจาน ผลิตภัณฑ์ซักผ้า ที่มีสารสำคัญเป็น
สารลดแรงตึงผิวชนิดประจุลบ ( anionic surfactants) หรือสาร ลดแรงตึงผิวชนิดไม่มีประจุ
( nonionic surfactants ) ยกเว้น nonylphenol ethoxylate
•  ผลิตภัณฑ์กาว ที่มีสารสำคัญเป็นสารกลุ่ม alkyl cyanoacrylate
•  ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคในสระว่ายน้ำ ที่มีสารสำคัญเป็น calcium hypochlorite, sodium hypochlorite,    dichloroisocyanuric acid and its salts, trichloroisocyanuric acid and its salts

   การแจ้งข้อเท็จจริงวัตถุอันตรายชนิดที่ 1

​​


 

วัตถุอันตรายชนิดที่ 2 

เป็นวัตถุอันตรายที่มีความเป็นอันตรายหรือความเสี่ยงสูงกว่าชนิดที่ 1 กฎหมายจึงกำหนดให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออกหรือผู้มีไว้ในครอบครองต้องขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายและแจ้งการดำเนินการให้พนักงานเจ้าหน้าที่ี่ทราบก่อนจึงจะประกอบกิจการได้ การแสดงฉลากจะต้องแสดงเลขทะเบียนวัตถุอันตราย ไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์

ตัวอย่างวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เช่น
•  ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข ที่มี benzyl benzoate เป็นสารสำคัญ
•  ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด / ฆ่าเชื้อโรค (ยกเว้นผลิตภัณฑ์ที่มีสารสำคัญที่ถูกจัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1    หรือวัตถุอันตรายชนิดที่ 3)

 การขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย
 การแจ้งการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ชนิดที่ 2


วัตถุอันตรายชนิดที่ 3

เป็นวัตถุอันตรายที่มีความเป็นอันตรายหรือความเสี่ยง สูงกว่า วัตถุอันตรายสองชนิดแรก กฎหมายกำหนดให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ในครอบครอง ต้องขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย และต้องได้รับอนุญาตให้ดำเนินการจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนจึงจะประกอบกิจการได้ การแสดงฉลากจะต้องแสดงเลขทะเบียนวัตถุอันตรายไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์

ตัวอย่างวัตถุอันตรายชนิดที่ ๓ ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เช่น
•  ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลงที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข ที่มีสารสำคัญเป็นสาร chlorpyrifos
หรือสารกลุ่ม pyrethroids เป็นต้น
•  ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด / ฆ่าเชื้อโรค ที่มีกรด ด่าง หรือสารกลุ่ม ​aldehydes เป็นสารสำคัญ เป็นต้น

 การขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย
 การขออนุญาตวัตถุอันตราย 


 ​
วัตถุอันตรายชนิดที่ 4
ได้แก่ วัตถุอันตรายที่มีความเป็นอันตรายหรือความเสี่ยงสูงทั้งจากคุณสมบัติของตัวสารเองหรือจากลักษณะการใช้ เช่น สารก่อมะเร็ง สารก่อกลายพันธุ์ สารที่เป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ หรือสารที่ห้ามใช้โดยอนุสัญญา กฎหมายจึงห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง

ตัวอย่างวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ในค​วามรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เช่น
สาร DDT, chlordane, dieldrin ในผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดแมลง เป็นต้น​

แบบฟอร์มวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และยาเสพติดให้โทษ

วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และยาเสพติดให้โทษ

แบบฟอร์ม

1.Certificate of Free Sale, Certificate of a Pharmaceutical Product, Translation
   353.gif CPP (แบบ 5 หน้า, แบบขวาง 1 หน้า) /CFS / Translation (ขอผ่านอินเตอร์เน็ต)


2.อนุญาตโฆษณายาเสพติด / วัตถุออกฤทธิ์
   353.gif อนุญาตโฆษณายาเสพติด / วัตถุออกฤทธิ์

5. ใบอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 และ 5
การขอหนังสือหนังสือรับรองยาเสพติดให้โทษในประเภท 2/วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2

แจ้งประชาสัมพันธ์ ประกาศกระทรวงฉบับใหม่ (เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ)

กระทรวงสาธารณสุขโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ออก  ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๓๖๗) พ.ศ. ๒๕๕๗ เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ และ  ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๓๘๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ (ฉบับที่ ๒) เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ (ฉบับที่ ๒)

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน และขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง
ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขดังกล่าวโดยเคร่งครัด หากมีข้อสงสัยประการใด ติดต่อสอบถามได้ที่
สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ ๐๒-๕๙๐-๗๑๗๓
และ ๐๒-๕๙๐-๗๑๗๙ ในเวลาราชการ

คลิกเพื่ออ่าน ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๓๖๗) พ.ศ. ๒๕๕๗ เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ

คลิกเพื่ออ่าน ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๓๘๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ (ฉบับที่ ๒)

คำชี้แจงประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ

ตรวจสอบข้อมูลยา,อาหาร,เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ

ท่านสามารถตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์ยา, สมุนไพร, อาหารเสริม,เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆจากระบบฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ของ อย. ได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้

คลิกที่นี่ เพื่อตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์

แจ้งข่าว ประกาศ กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพ

   สำหรับผู้ประกอบการที่ยื่นคำขอต่ออายุตั้งแต่ วันที่ 4 ธันวาคม 2560 เป็นต้นไปจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการยื่นคำขอต่ออายุเพิ่มตามประกาศ กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพ คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด

โดยค่าใช้ที่จะจัดเก็บจะจัดเก็บตามประเภทของผลิตภัณฑ์ ดังนี้

  1. ผู้ประกอบการเกี่ยวกับยา กรุณาอ่าน
    1. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์ยา พ.ศ. ๒๕๖๐
    2. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์วัตถุออกฤทธิ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
    3. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๖๐
  2. ผู้ประกอบการเกี่ยวกับอาหาร กรุณาอ่าน ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร พ.ศ. ๒๕๖๐
  3. ผู้ประกอบการเกี่ยวกับเครื่องสำอาง กรุณาอ่าน ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง พ.ศ. ๒๕๖๐
  4. ผู้ประกอบการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย กรุณาอ่าน ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พ.ศ. ๒๕๖๐
  5. ผู้ประกอบการเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์ กรุณาอ่าน ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ๒๕๖๐

 

​อย.เตือนซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอวดอ้างเป็นยาจากเวบไซต์อันตรายถึงตายได้ 

อย.เตือนซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอวดอ้างเป็นยาจากเวบไซต์อันตรายถึงตายได้  จากกรณีมีคนตายจากการกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร(ตราบ้านแก้วใส) เลข อย. 10-1-24858-1-0043 โดยซื้อจากเฟสบุ้ค