เตือนชายไทยระวังถูกหลอก โฆษณาเสริมอาหาร I-RD อ้างช่วยให้ฟิตปึ๋งปั๋ง ย้ำผู้ขายมีความผิด ผู้บริโภคมีความเสี่ยง

อย. เตือนชายไทยระวังถูกหลอก โฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร I-RD ทางสื่อออนไลน์อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงในทำนองช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศ ย้ำไม่มีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดใดช่วยเพิ่มขนาดหรือรักษาผู้ที่เสื่อมสมรรถภาพทางเพศให้หายได้ อย่าหลงเชื่อซื้อมารับประทานโดยเด็ดขาด อาจสูญเสียเงินและเป็นอันตรายได้ ผู้ที่มีปัญหาควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการรักษาและฟื้นฟูเท่านั้น เตือนผู้ขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผ่านสื่อทุกช่องทาง ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายมีโทษทั้งจำและปรับ

            นายแพทย์พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคให้ตรวจสอบการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร I-RD ซึ่งพบว่ามีการโฆษณาอ้างสรรพคุณเกินจริงผ่านทางสื่อเฟซบุ๊กชื่อ “Wipavadee Choopong” นั้น อย. ตรวจสอบข้อเท็จจริงตามเรื่องร้องเรียนพบการโฆษณาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแสดงข้อความในทำนองช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศ …คุณค่าที่ชายไทยคู่ควร I-RD #ชายท่านใดที่มีปัญหาเรื่องบนเตียงไอเรทช่วยคุณได้ ซึ่งข้อความเหล่านี้เป็นการโฆษณาที่ไม่ได้รับอนุญาต และเป็นการโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารอันเป็นเท็จหรือเป็นการหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทุกชนิดเป็นเพียงอาหารชนิดหนึ่งไม่มีคุณสมบัติในการรักษาโรคต่าง ๆ และไม่ได้ช่วยเพิ่มขนาดหรือรักษาผู้ที่เสื่อมสมรรถภาพทางเพศให้หายขาดได้ ขอให้ผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมารับประทานโดยเด็ดขาด เพราะนอกจากจะเสียเงินโดยไม่มีความจำเป็นแล้ว หากมีโรคประจำตัวอาจได้รับผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกายโดยคาดไม่ถึงได้ สำหรับผู้ที่มีปัญหาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ควรเข้ารับการปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการรักษาและฟื้นฟูเท่านั้น เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ตรงจุด

อ่านข่าวฉบับเต็ม

สสจ.ฉะเชิงเทรา ตรวจสอบอาหารและขนม ภายในงานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 เวลา 15.00 น. นางลลิตา พรพนาวัลย์ หัวหน้ากลุ่มงานกลุ่มคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ของกลุ่มงานฯ และเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ได้ดำเนินการตรวจสอบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ ภายในงานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร กับขนมชนิดหนึ่งที่เรียกกันทั่วไปว่า “ขนมควันทะลัก” ซึ่งขนมชนิดนี้ ได้ทีมีการนำไนโตรเจนเหลวเข้าไปเป็นส่วนประกอบ ในการผลิตขนมทำให้เกิดควันพวยพุ่งออกมา เพื่อสร้างความแปลกใหม่ และดึงดูดผู้บริโภคให้มาซื้อขนมชนิดนี้ไปรับประทาน ซึ่งไนโตรเจนเหลวเป็นก๊าชเฉื่อยที่ไม่มีสี กลิ่น และรส ประโยชน์ของไนโตรเจนเหลวมักใช้ในการแช่แข็งอาหาร และเก็บรักษาอาหารที่ต้องใช้ความเย็นจัด จากการตรวจสอบพบว่า ถังที่ใช้บรรจุไนโตรเจนเหลว มีมาตรฐานรับรอง ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้ให้คำแนะนำกระบวนการใช้ไนโตรเจนเหลวที่ถูกต้องเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัย โดยให้ผู้ประกอบการกรองเอาไนโตรเจนเหลวออกให้หมดก่อน ตักเพียงเฉพาะขนม ให้แก่ผู้บริโภคเท่านั้น รวมถึงให้ผู้ประกอบการ ระมัดระวังการสัมผัสไนโตรเจนเหลวโดยตรง สำหรับการรับประทานขนมชนิดนี้ให้ถูกวิธี โดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสไนโตรเจนเหลวโดยตรง เพราะการรับประทานไนโตรเจนเหลวจะทำให้เนื้อเยื่อถูกทำลาย ต้องรอให้ควันของไนโตรเจนเหลวระเหยออกไปให้หมดก่อน จึงจะรับประทานได้ ทั้งนี้ผู้ประกอบการรับทราบ และให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทางกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สสจ.ฉะเชิงเทรา มีแผนในการดำเนินการเฝ้าระวังและติดตามอย่างต่อเนื่องต่อไป

ภาพ/ข่าว กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค และเภสัชสาธารณสุข สสจ.ฉะเชิงเทรา

สสจ.ฉะเชิงเทรา ตรวจสอบความปลอดภัยด้านอาหารภายในงานนมัสการพระพุทธโสธร

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2561 เวลา 15.00 น. ณ งานนมัสการพระพุทธโสธร ศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สสจ.ฉะเชิงเทรา พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา และเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลพุทธโสธร ได้ดำเนินการตรวจสอบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ ภายในงานนมัสการพระพุทธโสธร ดำเนินการเก็บตัวอย่างอาหารสด หอยนางรม ณ สถานที่จำหน่ายหอยนางรม ที่เคยตรวจสอบพบสารปนเปื้อนฟอร์มาลีน เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2561 การเก็บตัวอย่างหอยนางรมตรวจวิเคราะห์ด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น พบว่าไม่มีการปนเปื้อนสารฟอร์มาลีนในหอยนางรม รวมถึงไม่พบว่ามีการนำปลาหมึกกรอบและสไบนางที่พบสารฟอร์มาลีนมาจำหน่ายอีก เจ้าหน้าที่ได้ชี้แจงให้ผู้ประกอบการทราบว่าจะมีการตรวจเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ถ้าพบว่ายังมีการจำหน่ายสินค้าที่มีการปนเปื้อนสารฟอร์มาลีนจะดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป ต่อจากนั้น ได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างอาหาร ณ บริเวณริมน้ำหน้าโรงพยาบาลพุทธโสธร เพื่อนำไปตรวจวิเคราะห์ด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น ได้แก่ สารฟอกขาว สารกันรา สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลีน และน้ำมันทอดซ้ำ จำนวนทั้งหมด 65 ตัวอย่าง ได้แก่ ลูกชิ้น หมึกสด ปู อาหารหมักดอง แป้งสำหรับประกอบอาหาร น้ำมันทอดซ้ำ ผักสด เช่น แตงกวา ถั่วงอก ขิงซอย ซึ่งผลการตรวจสอบไม่พบสารปนเปื้อนในอาหาร โดยกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข มีแผนในการดำเนินการเฝ้าระวังและติดตามอย่างต่อเนื่องต่อไป

ภาพ/ข่าว กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สสจ.ฉะเชิงเทรา

อย. สนธิกำลังทลายแหล่งผลิตยา 4 x 100 ครั้งใหญ่ย่านตลิ่งชัน ลักลอบขายในหมู่เยาวชนนำไปใช้ในทางที่ผิด มูลค่ากว่า 20 ล้านบาท

อย. ร่วมกับ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ บุกทลายบริษัท เอช.เค.ฟาร์มาซูติคอล จำกัด ลักลอบผลิตยา 4 x 100 ย่านตลิ่งชัน ภายในพบผลิตยาไม่มีเลขทะเบียนตำรับยา ลักษณะเป็นยาแคบซูลสีเขียวเหลือง ลักลอบจำหน่ายให้กับกลุ่มเยาวชนนำไปใช้เป็นส่วนประกอบ  4 x 100 โดยตรวจพบเอกสารการผลิตและการขายที่ได้กระจายสินค้าไปแล้วกว่า 7,000,000 แคปซูล มูลค่ากว่า 20 ล้านบาท ย้ำเตือนโรงงานผลิตยา อย่าได้ลักลอบผลิตยาที่ไม่ขึ้นทะเบียนตำรับยา มีโทษหนักเตือนผู้ปกครองหมั่นสอดส่องดูแลบุตรหลาน อย่าใช้ยาในทางที่ผิด เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

          เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2561 นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา พร้อมด้วย นายแพทย์สุรโชค ต่างวิวัฒน์ นายแพทย์พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และ เภสัชกรประพนธ์ อางตระกูล ที่ปรึกษา อย. ร่วมกับศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมด้วยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ นำทีมโดย พล.ต.ต. สุรเชษฐ์ หักพาล ผบช.สตม. สนธิกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจของศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส.ตร.) เปิดปฏิบัติการ “กวาดล้างยาทรามาดอลครั้งใหญ่” โดยร่วมกันแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ทำการสืบสวนกรณีการลักลอบขายยาทรามาดอล แคปซูลเขียว – เหลือง ให้กับกลุ่มเยาวชนนำไปใช้เป็นส่วนประกอบ 4 x 100 ฉลากระบุ TRADOL ประกอบไปด้วย ทรามาดอล 50 มิลลิกรัมต่อแคปซูล ฉลากไม่ระบุแหล่งผลิต จากการตรวจสอบพบเอกสารการผลิตและฉลากที่ได้มีการส่งและรับสินค้า จำนวน 7,500 กระปุกๆ ละ 1,000 แคปซูล  โดยเจ้าของได้ยอมรับว่ามีการส่งสินค้าออกไปยังท้องตลาดแล้ว รวมมูลค่าของกลางที่ยึดได้รวมกว่า 20 ล้านบาท จึงได้แจ้งข้อกล่าวหาว่าผลิตยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ฯลฯ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อ่านข่าวฉบับเต็ม (คลิก)

สสจ.ฉะเชิงเทรา ดำเนินการตรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพภายในงานนมัสการพระพุทธโสธร

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2561 เวลา 15.00 น. ณ งานนมัสการพระพุทธโสธร ศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมือง และเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลพุทธโสธร ดำเนินการตรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพภายในงานนมัสการพระพุทธโสธร ได้แก่ อาหาร และเครื่องสำอาง พร้อมทั้งแจกเอกสารและแนะนำวิธีการตรวจสอบเบื้องต้นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกกฎหมายให้แก่ผู้ประกอบการภายในงาน จากการตรวจสอบร้านจำหน่ายเครื่องสำอางไม่พบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ผิดกฎหมาย นอกจากนี้ ได้ทำการเก็บตัวอย่างอาหารสด เพื่อนำไปตรวจวิเคราะห์หาสารปนเปื้อนด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น ได้แก่ สารฟอกขาว สารกันรา สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลีน และน้ำมันทอดซ้ำ จำนวนทั้งหมด 88 ตัวอย่าง ได้แก่ สไบนาง หมึกกรอบ หมึกสด หมึกกรอบ กุ้ง หอยนางรม หอยแมลงภู่ ไส้กรอกอีสาน แป้งสำหรับประกอบอาหาร น้ำมันทอดซ้ำ ผักสด เช่น แตงกวา พริก ถั่วงอก ขิงซอย ฯ ปรากฏว่าพบตัวอย่างอาหารที่มีสารปนเปื้อน 4 ตัวอย่าง เป็นสารฟอร์มาลินในหมึกกรอบ 2 ตัวอย่าง สไบนาง 1 ตัวอย่าง และ หอยนางรม 1 ตัวอย่าง ทั้งนี้ ทางเจ้าหน้าที่ได้ให้คำแนะนำ และให้ผู้ประกอบการทำลายอาหารดังกล่าวทันที รวมถึงได้ชี้แจงให้ผู้ประกอบการรับทราบว่า หากพบว่ามีการจำหน่ายอาหารที่ไม่ปลอดภัยอีกครั้งจะดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการเป็นอย่างดี ซึ่งทางกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข มีแผนในการดำเนินการเฝ้าระวังและติดตามอย่างต่อเนื่องต่อไป

ภาพ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สสจ.ฉะเชิงเทรา /ข่าว กลุ่มงานสื่อสารองค์กร สสจ.ฉะเชิงเทรา

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดรับสมัครสอบและประเมินความรู้ความสามารถ ของผู้ที่สนใจยื่นขอใบอนุญาตเป็นผู้ดำเนินการสปา 

กรม สบส. เปิดสอบวัดความรู้ความสามารถของผู้สนใจเป็นผู้ดำเนินการสปา

พบผลิตภัณฑ์นมผึ้ง (Royal jelly) โฆษณาเกินจริงทางสื่อออนไลน์!! เตือนผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อ

พบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารปลอม โฆษณาทางสื่อออนไลน์ ประชาชนอย่าหลงเชื่อ

คลิกเพื่ออ่านข่าวฉบับเต็ม

พบผลิตภัณฑ์นมผึ้ง (Royal jelly) โฆษณาเกินจริงทางสื่อออนไลน์ ตรวจสอบเลขสารบบอาหารถูกยกเลิกไปแล้วตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2560 เข้าข่ายเป็นผลิตภัณฑ์อาหารปลอม และเป็นการโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต อย. ดาเนินการระงับโฆษณา เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อซื้อมาบริโภค อาจได้รับอันตราย

นพ. พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนขอให้ตรวจสอบเว็บไซต์ http://www.facebook.com/phiriya.ladpala จากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นพบเฟซบุ๊ก ชื่อ Noolek Phiriya มีภาพและข้อความโฆษณาผลิตภัณฑ์ Wealthy Health Royal Jelly ด้วยข้อความที่ไม่ได้รับอนุญาต เช่น “นมผึ้งแท้ 100% เป็นยาอายุวัฒนะที่อัศจรรย์ ช่วยผู้ป่วยมะเร็งในระยะแพร่กระจาย ต่อต้าน การเจริญเติบโตของเชื้อแบคที่เรียและเชื้อดื้อยา ต่อต้านอนุมูลอิสระ สุขภาพผิวดี ดูอ่อนกว่าวัย” เป็นต้น และยังพบเว็บไซต์ที่มีการโฆษณาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตอีก 2 เว็บไซต์ คือ http://www.อาหารเสริมนมผึ้ง.com และ http://www.wealthyhealth-th.com เมื่อตรวจสอบฉลากผลิตภัณฑ์พบระบุชื่อ นมผึ้ง (Royal jelly) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (ตรา ดับเบิ้ลยูเอช รอยัลเยลลี่ 1000 มก.) เลขสารบบอาหาร 10-3-32257-1-0001 นาเข้าและ จัดจาหน่ายโดย บริษัท กู๊ดเฮลท์ อินเตอร์เทรดดิ้ง จากัด จากการตรวจสอบเลขสารบบอาหาร พบข้อมูลผู้ประกอบการแจ้งยกเลิกไปแล้วตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2560 ผลิตภัณฑ์ที่พบในท้องตลาดหลังจากนี้ อาจเข้าข่ายเป็นผลิตภัณฑ์อาหารปลอม การโฆษณาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจึงถือเป็น การโฆษณาคุณประโยชน์ หรือสรรพคุณเป็นเท็จและเป็นโฆษณาที่ไม่ได้รับอนุญาต มีความผิด ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 โฆษณาสรรพคุณของอาหารด้วยข้อความที่ไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท โดย อย. ได้มีหนังสือสั่งระงับการโฆษณา รวมทั้งดาเนินการ ตามกฎหมายกับผู้กระทาการโฆษณาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแล้ว

รองเลขาธิการ ฯ กล่าวต่อไปว่า ขอแจ้งเตือนผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อ ตกเป็นเหยื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริงทางสื่อออนไลน์ ขอให้ผู้บริโภคดูแลสุขภาพของตนเอง ระมัดระวังการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาจได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิต หากผู้บริโภครับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แล้วมีอาการผิดปกติหรือพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือ E-mail:1556@fda.moph.go.th หรือตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11000 หรือผ่านทาง Oryor Smart Application หรือสานักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

คลิกเพื่ออ่านข่าวฉบับเต็ม

แบบฟอร์มต่างๆสำหรับผู้ประกอบการ