จัดรายการ “Facebook live”

กลุ่มงานการการแพทย์แผนไทยฯ สสจ.ฉะเชิงเทรานำเสนอศาสตร์    การแพทย์แผนไทย  และการแพทย์ทางเลือก…ภูมิปัญญาไทย ก้าวไกลระดับโลก…
“ประชาชนรู้จัก เชื่อมั่น ชอบ ใช้ ในบริการแพทย์แผนไทย และสมุนไพรไทย”                              วันที่ 13 มีนาคม 2561 : ครั้งที่ 1


“ศาสตร์การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก…ภูมิปัญญาไทย  ก้าวไกลระดับโลก”
ก่อนอื่น Admin ขอแนะนำ “โครงสร้างงานของกลุ่มงานการแพทย์แผนไทย” ดังนี้ค่ะ
– งานพัฒนาระบบบริหารงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
– พัฒนาและส่งเสริมบริการแพทย์แผนไทย ฯ
– พัฒนาระบบข้อมูลและเทคโนโลยีทางการแพทย์แผนไทย
– งานวิชาการ และพัฒนาบุคลากรแพทย์แผนไทย ฯ
– งานคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
– งานวิจัย และพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับงานการแพทย์แผนไทย ฯ
เมื่อรู้จักโครงสร้างงานฯ แล้ว เรามาทำความรู้จักศาสตร์การแพทย์แผนไทยกันต่อเลยค่ะ

ศาสตร์การแพทย์แผนไทยคืออะไร
แพทย์แผนไทยคือการ ให้บริการดูแลคุณอย่างครบวงจร ทั้งด้านร่างกายและด้านจิตใจ ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ที่เน้นนำความเป็นไทย สมุนไพรไทย และความเป็นธรรมชาติเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลรักษา โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่หลากหลายด้านอาทิด้านเวชกรรมไทย ด้านหัตถเวชกรรมไทย ด้านยาไทย และผดุงครรภ์ไทย เข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิดให้คำปรึกษา คำแนะนำในอาการหรือข้อกังวลใจต่างๆ เพราะเราเชื่อว่าเมื่อเจ็บป่วยคราใด ไม่ได้มีเพียงร่างกายเท่านั้นที่เจ็บป่วยแต่ยังกระทบไปถึงจิตใจ เพราะฉะนั้นจึงให้ความสำคัญในการดูแลรักษาทั้ง 2 ด้านควบคู่ไปด้วยกัน
เวชกรรมไทย : คือ การตรวจ วินิจฉัย และบำบัดโรค รวมถึงการป้องกันโรคด้วยวิธีการแบบแผนไทย การให้คำปรึกษา ป้องกัน ดูแลถึงความเจ็บป่วย ความกังวลใจ อาการต่างๆอาทิเช่นอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง ไมเกรน นอนไม่หลับ ความผิดปกติรอบเดือน ท้องผูก หรือแม้กระทั่งโรคทางผิวหนัง โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางศาสตร์การแพทย์แผนไทย
หัตถเวชกรรมไทย : คือ การตรวจ วินิจฉัย บำบัด และป้องกันโรค รวมถึงการส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพด้วยวิธีการกด การคลึง การบีบ การประคบสมุนไพรและการอบสมุนไพร เป็นบริการที่มีความโดดเด่นโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านหัตถเวชกรรมไทย ให้การดูแลอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนสิ้นสุดแผนการรักษา และยังมีการให้คำแนะนำเพื่อป้องกันการเกิดโรคหรืออาการนั้น
เภสัชกรรมไทย : ยาไทย ไม่แพ้ชาติใดในโลกสมบัติล้ำค่าที่มากด้วยคุณประโยชน์ ปัจจุบันได้มีการจัดเตรียมยาแผนไทยที่หลากหลายรูปแบบเพื่อตอบสนองต่อการให้บริการหรือแผนการรักษาที่ง่าย สะดวก ตอบโจทย์อาการที่แสดงได้อย่างชัดเจน อาทิเช่น ยาสำเร็จรูปในรูปแบบเม็ด แคปซูล ที่ง่ายต่อการรับประทาน ยาต้มสมุนไพรเฉพาะรายที่เหมาะกับผู้ที่มีอาการเฉพาะโรคโดยได้รับการดูแลภายใต้คำสั่งของแพทย์แผนไทย นอกจากนั้นยังมีการให้คำปรึกษา คำแนะนำการใช้ยา ข้อควรระวังโดยเภสัชกรแผนไทย
ผดุงครรภ์ไทย : หรือผดุงครรภ์แผนโบราณเป็นการดูแลมารดาและทารกตั้งแต่ระยะเริ่มตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอด ดังนั้นแพทย์ผดุงครรภ์แผนโบราณ (หมอตำแย) มีหน้าที่ให้คำแนะนำ ดูแล บำบัด และป้องกันอาการต่าง ๆ ของผู้หญิงตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนครบกำหนดคลอดมีหน้าที่ทำคลอดตลอดจนดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิดด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย ถึงแม้ปัจจุบันการดูแลด้านการทำคลอดจะถูกลดบทบาทลง โดยนิยมมาคลอดที่โรงพยาบาล แต่ความโดดเด่นของผดุงครรภ์ไทยประการหนึ่งก็คือการดูแลสุขภาพมารดาหลังคลอด ขั้นตอนการดูแลมารดาหลังคลอด ทั้งการคลอดธรรมชาติและการผ่าคลอด ศาสตร์การแพทย์แผนไทยมีขั้นตอนที่หลากหลายเพื่อกระตุ้นในทุกๆระบบของมารดา เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับมารดาเพื่อส่งต่อสายใย สิ่งดีๆต่อตัวลูกน้อย อาทิเช่น การทับหม้อเกลือ การนวดท้อง การนวดกระตุ้นน้ำนม การพันผ้ารัดหน้าท้อง และการบริการอื่นๆ ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์แผนไทยและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้นยังมีการให้คำปรึกษา คำแนะนำถึงการดูแลตนเองเบื้องต้น การดูแลลูกน้อยเบื้องต้น

การแพทย์ทางเลือกคืออะไร
การแพทย์ทางเลือก (Alternative Medicine) หมายถึง ศาสตร์เพื่อการวินิจฉัย รักษาและป้องกันโรค นอกเหนือจากศาสตร์ การแพทย์แผนปัจจุบัน                                                          การแพทย์แผนไทย และการแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์ทางเลือก 3 กลุ่มหลัก คือ
1. กลุ่มศาสตร์/เทคนิคของศาสตร์เพื่อการปรับสมดุลของ ธาตุ/สารชีวภาพในร่างกาย ได้แก่
• สมุนไพรชนชาติต่างๆ
• สูตรอาหารต่างๆ ได้แก่ อาหารแมคโครไบโอติกส์ (Macrobiotics) อาหารเจ อาหารมังสวิรัติ อาหารเฉพาะสูตรสำหรับผู้ป่วย
• วิตามินบำบัด (Megavitamin)
• ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
• การล้างพิษ (Detoxification)
• สารชีวภาพอื่นๆ เช่น โฮมิโอพาที (Homeopathy), Bio-molecular therapy, การขับสารพิษ (Chelation therapy) ฯลฯ 2. กลุ่มศาสตร์/เทคนิคของศาสตร์เพื่อการปรับสมดุลของ โครงสร้างร่างกาย (กระดูก/กล้ามเนื้อ) ได้แก่
• การนวด ดัด ดึง ในวัฒนธรรมต่างๆ
• การจัดกระดูกแบบจีน, Chiropratic therapy
• ดุลยภาพบำบัด
• การออกกำลังกายแบบต่างๆ ได้แก่ โยคะ ชี่กง ไทเก็ก
• วารีบำบัด (Hydrotherapy) ฯลฯ
3. กลุ่มศาสตร์/เทคนิคของศาสตร์เพื่อการปรับสมดุลของพลังในร่างกาย ความสัมพันธ์กาย-จิต ได้แก่
• สมาธิ ในวัฒนธรรมต่างๆ
• การเสริมสร้างพลังในวัฒนธรรมต่างๆ ได้แก่ พลังกายทิพย์/พลังจักรวาล/พลังออรา/พลังปิรามิด/โยเร/โยคะ/ไทเก็ก/ชี่กง/Biospectrum พลังจิต การสะกดจิต จินตภาพบำบัด เวทมนต์
• การฝังเข็ม (Acupunture)
• การกดจุด (Reflexology)
• ดนตรีบำบัด (Music therapy)
• สุคนธบำบัด (Aroma therapy)
• สนามแม่เหล็กบำบัด (Manetic field therapy)
• ฯลฯ
สำหรับการแพทย์ทางเลือกที่มีนิยมใช้แพร่หลายในขณะนี้ได้แก่ อายุรเวทของอินเดีย (Ayuraveda), การแพทย์ยูนานิ (Unani), การแพทย์แผนจีน (Traditional Chinese Medicin)

ใส่ความเห็น