การต่ออายุใบอนุญาตเกี่ยวกับยา ยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 และวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 เพื่อใช้ในปี พ.ศ. 2565

คลิกเพื่ออ่านเอกสารฉบับเต็ม

เอกสารแนวทางการพิจารณาอนุญาตและแนวทางการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562

​ –คู่มือการดำเนินการสำหรับแจ้งการครอบครองกัญชามาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562
 -​flow chart การแจ้งการครอบครองกัญชา ตาม ม.22 แห่ง พรบ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 (นิรโทษกรรม)
 –พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 มีผลบังคับใช้ 19 กุมภาพันธ์ 2562
-แนวทางการพิจารณาอนุญาตให้ปลูกกัญชา พ.ศ. 2562
-​ แนวทางการปฏิบัติ ด้านการจัดเตรียมสถานที่ การเก็บรักษาและการควบคุมการใช้สำหรับผู้ขอรับอนุญาตปลูก ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชา

แบบแจ้งการมีไว้ในครอบครองยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะกัญชา

บันทึกแจ้งการมีไว้ในครอบครองยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะกัญชาเพื่อรักษาโรคเฉพาะตัวของผู้ป่วยตามมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒

บันทึกแจ้งการส่งมอบและรับมอบยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะกัญชาที่มีไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่ใช้รักษาตัวเพื่อรักษาโรคเฉพาะตัวตามมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒

บันทึกแจ้งการมีไว้ในครอบครอง การส่งมอบและรับมอบยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะกัญชาตามมาตรา ๒๒ (๒) แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒

พรบ.ยาเสพติดฉบับใหม่ แจ้งครอบครองกัญชาภาย 19 พ.ค. 62 ไม่ต้องรับโทษ

ประเด็นเรื่องกัญชากำลังเป็นประเด็นที่มาแรงในขณะนี้ ซึ่งประเด็นการครอบครองกัญชาก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจ วันนี้ทาง อย.จะมาไขข้อสงสัยกันว่าใครที่สามารถครอบครองกัญชาได้บ้าง แล้วจะต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างเพื่อไปยื่นครอบครองกัญชา

ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 กำหนดว่า ผู้ที่สามารถครอบครองกัญชาได้ ได้แก่

1. ผู้ป่วยที่มีกัญชาครอบครองเพื่อการรักษาอยู่แล้ว ผู้ป่วย หรือผู้แทนต้องมาแจ้งการมีไว้ครอบครองกัญชา

หลังพรบ.บังคับใช้ (19 กุมภาพันธ์ 2562) ภายใน 90 วัน

โดยเอกสารที่ต้องเตรียมมีดังต่อไปนี้

– เอกสารรับรองแพทย์ ต้องระบุโรคที่เป็น ,อาการโรค ,ชื่อผู้ป่วย ,ชื่อแพทย์ และเลขที่ใบรับรองของแพทย์

– ต้องนำกัญชาที่ใช้รักษาไปด้วย โดยหากมีปริมาณมาก สามารถถ่ายรูปกัญชาแทนได้

2. หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยหรือจัดการเรียนการสอนทางการแพทย์ เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือเกษตรศาสตร์ หรือมีหน้าที่ให้บริการทางการแพทย์ เภสัชกรรม หรือวิทยาศาสตร์ หรือมีหน้าที่ให้บริการทางเกษตรกรรมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือเภสัชกรรม หรือหน่วยงานของรัฐ ที่มีหน้าที่ในการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด หรือสภากาชาดไทย

3. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม

4. สถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยและ จัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับทางการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์

5. วิสาหกิจชุมชน หรือสหกรณ์การเกษตร

6. ผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศ

7. ผู้ป่วยเดินทางระหว่างประเทศที่มีความจำเป็นต้องนำยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ ติดตัวเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อใช้รักษาโรคเฉพาะตัว

8. อื่น ๆ ตามที่กระทรวงกำหนด

โดยการแจ้งการมีไว้ครอบครองกัญชานั้น

– หากผู้แจ้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร สามารถแจ้งครอบครองได้ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา (อย.)

– หากผู้แจ้งอยู่ต่างจังหวัด สามารถแจ้งครอบครองได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ในจังหวัดนั้น ๆ และสามารถมารับแบบฟอร์มเอกสารการมีไว้ครอบครองกัญชาได้ที่ กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา หรือดาวโหลดแบบฟอร์มเอกสารได้ที่http://www.fda.moph.go.th/sites/Narcotics/SitePages/MARIJUANA62.aspx

ชี้แจงการจัดทำบัญชียาสำหรับร้านขายยาแผนปัจจุบัน

ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง กำหนดแบบคำขอและใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน ลงวันที่16 พฤษภาคม พ.ศ.2557   (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา กันยายน พ.ศ.2557 ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/172/9.PDF) กำหนดให้จัดทำบัญชีดังนี้

1. บัญชีการซื้อยา ให้จัดทำบัญชีการซื้อยาแต่ละอย่างทุกครั้งโดยแสดงเลขที่หรืออักษรของครั้งที่ ผลิต ชื่อผู้ขาย (ดูให้ดี กฎหมายใช้คำว่า “ผู้ขาย” คือ คนที่ไปซื้อยากับเขา ไม่ใช่ “บริษัทที่ผลิต”) ยาที่ขาย ชื่อ และปริมาณยา ตลอดจนวัน เดือน ปีที่ซื้อ และลงรายชื่อผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ ตามแบบ ข.ย. 9

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ คลิก

2. บัญชีการขายยาอันตราย ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง รายการยาอันตรายที่ต้องทำบัญชีการขายยา ลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2558 ได้กำหนดรายการยาอันตรายที่ต้องทำบัญชี ตามแบบ ข.ย.11 ดังนี้  

 (1) ยาที่มีตัวยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นส่วนประกอบ ทั้งในตำรับยาเดี่ยว และยาสูตรผสม ทุกรูปแบบ

 (2) ยาที่มีตัวยาเดกซ์โตรเมธอร์แฟน (Dextromethorphan) เป็นส่วนประกอบในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม ทุกรูปแบบ

 (3) ยาที่มีตัวยาในกลุ่มแอนติฮีสตามีน (Antihistamine) ตามรายการที่แนบท้ายประกาศ ที่เป็นส่วนประกอบทั้งในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม เฉพาะที่เป็นยารูปแบบยาน้ำ

(3.1) บรอมเฟนนิรามีน (Brompheniramine)

(3.2) คาร์บิน็อกซามีน (Carbinoxamine)

(3.3) คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine)

(3.4) ไซโปรเฮปทาดีน (Cyproheptadine)

(3.5) เดกซ์คลอร์เฟนิรามีน (Dexchlorpheniramine)

(3.6) ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate)

(3.7) ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine)

(3.8) ด็อกซี่ลามีน (Doxylamine)

(3.9) ไฮดรอกซีซีน (Hydroxyzine)

(3.10) โปรเมทาซีน (Promethazine)

(3.11) ไตรโพรลิดีน (Triprolidine)

ดังนั้น เซทิริซีน ไซรัป (Cetirizine Syrup)ลอราทาดีน ไซรัป (Loratadine Syrup) ไม่ต้องทำบัญชี ข.ย.11 ในขณะนี้


ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่  คลิก

3. บัญชีการขายยาควบคุมพิเศษ  ตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2556 และประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง กำหนดแบบคำขอและใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2557 กำหนดให้จัดทำบัญชีการขายยาควบคุมพิเศษแต่ละอย่างทุกครั้งโดยแสดงเลขที่หรืออักษรของครั้งที่ผลิต ชื่อและปริมาณยา ตลอดจนวัน เดือน ปี ที่ขายตามแบบ ข.ย. 10 และให้เก็บบัญชีไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า สามปีนับแต่วันขาย  ซึ่งแบบตามแบบ ข.ย. 10 ใบหนึ่งเขียนได้เฉพาะชื่อการค้าเดียวและเลขที่หรืออักษรของครั้งที่ผลิตเดียวเท่านั้น ที่สำคัญ คือ แบบ ข.ย.10 นี้ ให้ระบุชื่อผู้ซื้อด้วย)


ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ คลิก

4. บัญชีการขายยาตามประเภทที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนด  รายการยาที่ต้องรายงานต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2558 กำหนดให้ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะที่เป็นขายส่ง และผู้รับอนุญาตขายส่งยาแผนปัจจุบัน รายงานการขายยาตามแบบ ข.ย.13 ทุก 4 เดือน และส่งรายงานต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาภายใน 30 วันนับแต่วันครบกำหนด 4 เดือน โดยมีรายการยาที่ต้องทำบัญชี ข.ย.13 ดังนี้

(1)  ยาที่มีตัวยาทรามาดอล (Tramadol) เป็นส่วนประกอบในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม ทุกรูปแบบ
(2) ยาที่มีตัวยาเดกซ์โตรเมธอร์แฟน (Dextromethorphan) เป็นส่วนประกอบในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม ทุกรูปแบบ
(3) ยาที่มีตัวยาในกลุ่มแอนติฮีสตามีน (Antihistamine) ตามรายการที่แนบท้ายประกาศฉบับนี้ที่เป็นส่วนประกอบทั้งในตำรับยาเดี่ยวและยาสูตรผสม เฉพาะที่เป็นยารูปแบบยาน้ำ
(3.1) บรอมเฟนนิรามีน (Brompheniramine)
(3.2) คาร์บิน็อกซามีน (Carbinoxamine)
(3.3) คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine)
(3.4) ไซโปรเฮปทาดีน (Cyproheptadine)
(3.5) เดกซ์คลอร์เฟนิรามีน (Dexchlorpheniramine)
(3.6) ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate)
(3.7) ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine)
(3.8) ด็อกซี่ลามีน (Doxylamine)
(3.9) ไฮดรอกซีซีน (Hydroxyzine)
(3.10) โปรเมทาซีน (Promethazine)
(3.11) ไตรโพรลิดีน (Triprolidine)
(4) ยาที่มีตัวยาซิลเดนาฟิล (Sildenafil) หรือทาดาลาฟิล (Tadalafil) หรือวาเดนาฟิล (Vardenafil) ในตำรับยาเดี่ยว เฉพาะที่เป็นรูปแบบยาเม็ดและยาแคปซูล

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ คลิก

5. บัญชีขายยาตามใบสั่งยา บัญชีนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีการขายยาตามใบสั่งใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ ไม่ว่ายานั้นจะเป็นประเภทใดก็ตาม  และตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2556 และประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง กำหนดแบบคำขอและใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน ลงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2557 ให้จัดทำบัญชีการขายยาแต่ละอย่างทุกครั้งที่ขายตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะ หรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ โดยแสดงชื่อ อายุ และที่อยู่ของผู้ใช้ยา ชื่อ และที่อยู่หรือที่ทำงานของผู้สั่งยา ชื่อและปริมาณยา ตลอดจนวัน เดือน ปี ที่ขายตามแบบ ข.ย. 12 และให้เก็บใบสั่งยาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับแต่วันขาย และให้เก็บบัญชีไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี นับแต่วันขาย


ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ คลิก

6. ในกรณีที่มีการขายวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ต้องมีการจัดทำบัญชีการขายวัตถุออกฤทธิ์ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท. พ.ศ. ๒๕๕๙ ด้วย โดยจัดทำบัญชีดังรายการดังต่อไปนี้

6.1.บัญชีซื้อวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ตาม​แบบ บ.ว.จ. 3/4-ช 

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ คลิก

ุ6.2. บัญชีขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ตามแบบ บ.ว.จ. 3/4-ข 

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ คลิก

6.3. บัญชีขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 (ตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือทันตกรรม หรือการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง)ตามแบบ บ.ว.จ. 3/4-ขพ 

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ คลิก

6.4.  บัญชีรับ-จ่ายวัตถุออกฤทธิ์ที่มีไว้ในครอบครอง ตามแบบ บ.จ.8  

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ คลิก

6.5. รายงานเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ตามแบบ ร.ว.จ.3/4/เดือน 

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ คลิก

ยกระดับไซบูทรามีนเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ฝ่าฝืนโทษหนัก!!!! จำคุกสูงสุดถึง 20 ปี และปรับถึง 2 ล้านบาท

ดีเดย์ 23 ก.ย. 2561 ยกระดับไซบูทรามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ประเภท 1 โทษรุนแรง ผู้ใดผลิต นำเข้าหรือส่งออกผลิตภัณฑ์ที่มีไซบูทรามีนเป็นส่วนผสม มีโทษจำคุกตั้งแต่ 5 – 20 ปี และปรับตั้งแต่ 5 แสนบาท – 2 ล้านบาท หากขายจะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 4 – 20 ปี และปรับตั้งแต่ 4 แสนบาท – 2 ล้านบาท รวมถึงการครอบครองหรือบริโภคผลิตภัณฑ์ดังกล่าวก็ถือว่าเป็นการกระทำผิด มีโทษจำคุกหรือปรับด้วย

           นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากการที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่จำหน่ายในท้องตลาดเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมามักพบว่ามีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่โฆษณาอวดอ้างลดน้ำหนัก มีการใส่ไซบูทรามีน ซึ่งทำให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรงต่อผู้บริโภคบางรายถึงขั้นเสียชีวิต โดยไซบูทรามีน (Sibutramine) ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางทำให้รู้สึกไม่อยากอาหารและส่งผลข้างเคียงกับคนที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดต่าง ๆ ในปี 2553 ประเทศในยุโรปจึงประกาศยกเลิกไม่ให้ใช้ยานี้ รวมทั้งในประเทศไทยได้มีการเรียกเก็บยาที่มีสารไซบูทรามีนออกจากท้องตลาดและยกเลิกทะเบียนยาไซบูทรามีน อย่างไรก็ตาม ปัญหาการลักลอบใส่ไซบูทรามีนในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารก็ยังคงพบอยู่ ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ออกประกาศฯ กำหนดให้ไซบูทรามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1  ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน 2561 เป็นต้นไป ผู้ใดผลิตนำเข้าหรือส่งออกผลิตภัณฑ์ที่มีไซบูทรามีนเป็นส่วนผสมจะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 5 – 20 ปี และปรับตั้งแต่ 5 แสนบาท – 2 ล้านบาท ผู้ใดขายจะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 4 – 20 ปี และปรับตั้งแต่  4 แสนบาท – 2 ล้านบาท ผู้ใดครอบครองจะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 -5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2 หมื่นบาท – 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมไปถึงผู้ที่บริโภคผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ก็ถือว่าเป็นความผิดด้วย โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นพ.พูลลาภ  ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่สามารถลดความอ้วนได้ หากมีการโฆษณาว่าสามารถช่วยรักษาโรค ลดความอ้วนหรือมีผลในทางยา ขอให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจมีส่วนผสมของยา ซึ่งผู้ใช้อาจได้รับผลข้างเคียงจากยานั้น จนเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หากผู้บริโภคต้องการลดน้ำหนักอย่างถูกวิธี ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและควบคุมอาหาร รวมทั้งออกกำลังกายอย่างเหมาะสม หากผู้บริโภคต้องการใช้ยาลดความอ้วนจะต้องใช้ภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์หรือเภสัชกรเท่านั้น ไม่ควรหาซื้อยามารับประทานเอง เพราะอาจส่งผลกระทบกับสุขภาพและชีวิต การใช้ยาลดความอ้วนไม่สามารถทำให้หายจากโรคอ้วนได้ เมื่อหยุดยาไประยะหนึ่งแล้วจะทำให้น้ำหนักกลับมาเพิ่มมากยิ่งขึ้น หรือที่เรียกว่า YO – YO Effect หากผู้บริโภคพบเห็นเบาะแสการโฆษณา การผลิต/จำหน่ายยาลดความอ้วนผิดกฎหมาย ขอให้แจ้งมาได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือ รัองเรียนผ่าน Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดอย่างเข้มงวดต่อไป

คลิกเพื่ออ่านข่าวฉบับเต็ม