ประชาสัมพันธ์กฎหมายใหม่ เรื่อง วัตถุที่อาจใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง

ประชาสัมพันธ์ประกาศกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง กำหนดชื่อ ปริมาณ และเงื่อนไขของวัตถุที่อาจใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง 

คลิกที่นี่เพื่ออ่านประกาศฉบับเต็ม

ประชาสัมพันธ์กฎหมายใหม่ คำเตือนของสารที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง

ประชาสัมพันธ์ประกาศคณะกรรมการเครื่องสำอาง
เรื่อง การแสดงคำเตือนที่ฉลากของเครื่องสำอางที่มีวัตถุที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง 

คลิกที่นี่เพื่ออ่านประกาศฉบับเต็ม

ประชาสัมพันธ์กฎหมายใหม่ เรื่อง การขอความเห็นเกี่ยวกับการโฆษณาเครื่องสำอาง

ประชาสัมพันธ์ประกาศกระทรวงสาธารสุข เรื่อง การขอความเห็นเกี่ยวกับการโฆษณาเครื่องสำอาง

คลิกที่นี่เพื่ออ่านประกาศฉบับเต็ม

ประชาสัมพันธ์กฎหมายใหม่ เรื่องการโฆษณาเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิดของผู้บริโภค ที่อาจเกิดขึ้นจากการโฆษณาเครื่องสำอาง

ประชาสัมพันธ์ระเบียบคณะกรรมการเครื่องสำอาง เรื่องการโฆษณาเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิดของผู้บริโภค ที่อาจเกิดขึ้นจากการโฆษณาเครื่องสำอาง คลิกที่นี่เพื่ออ่านประกาศฉบับเต็ม

สธ.ประกาศอีก 180 วัน ห้ามผลิต นำเข้า จำหน่าย อาหารที่มีกรดไขมันทรานส์ เหตุมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนว่าเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2561 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ.2561 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย

คลิกที่นี่เพื่ออ่านประกาศฉบับเต็ม        


โดยปรากฎหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนว่า กรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty Acids) จากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially Hydrogenated Oils) ส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 (8) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนและอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ เป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย

ข้อ 2 ประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.2561

ปิยะสกล สกลสัตยาทร

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ทั้งนี้ ไขมันทรานส์ เกิดจากการนำน้ำมันมาผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially Hydrogenated Oils, PHOs)  ทำให้สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานโดยไม่เหม็นหืน ไม่เป็นไข พบมากในอาหารประเภทอาหารฟาสต์ฟู้ดซึ่งใช้เป็นน้ำมันสำหรับทอดไก่ มันฝรั่ง โดนัท เบเกอรี่ ขนมขบเคี้ยว ครีมเทียม และวิปปิ้งครีม เป็นต้น ปัจจุบันมีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ชัดเจนว่าไขมันทรานส์เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด หากบริโภคมากเกินไป

แนวทางปฏิบัติสำหรับประชาชน และผู้เกี่ยวข้อง กรณีเรียกเก็บคืน “ยาวาลซาร์แทน (Valsartan)” หลังพบสารก่อมะเร็งในวัตถุดิบ

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้เผยแพร่ข่าว การเรียกเก็บคืนผลิตภัณฑ์ยาวาลซาร์แทน (Valsartan) จำนวน 5 ตำรับ ของบริษัท สีลมการแพทย์ จำกัด และบริษัท ยูนีซัน จำกัด ต่อไปนี้

บริษัทผู้รับอนุญาต ชื่อการค้า เลขทะเบียนตำรับ
บริษัท สีลมการแพทย์ จำกัด VALATAN 80 1A 9/54 (NG)
VALATAN 160 1A 10/54 (NG)
บริษัท ยูนีซัน จำกัด VALSARIN 80 1A 4/60 (NG)
VALSARIN 160 1A 5/60 (NG)
VALSARIN 320 1A 6/60 (NG)

หมายเหตุ: กดที่ชื่อการค้าของยา เพื่อดูรายละเอียดการเรียกเก็บคืนยาแต่ละรายการ

เนื่องจากมีการใช้วัตถุดิบในการผลิตยาดังกล่าวของโรงงาน Zhejiang Huahai Pharmaceuticals ซึ่งได้รับแจ้งการตรวจพบสารปนเปื้อนที่อาจก่อมะเร็ง และมีการเรียกเก็บคืนผลิตภัณฑ์ยาวาลซาร์แทน (Valsartan) ของบริษัทต่างๆ ที่ใช้วัตถุดิบในการผลิตยาจากแหล่งดังกล่าว ในหลายประเทศแล้วเช่นกัน นั้น

ล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้แจ้ง คำแนะนำสำหรับผู้ใช้ยาที่มียาตำรับดังกล่าวข้างต้นที่มีการเรียกเก็บคืน  รวมทั้งคำแนะนำสำหรับ แพทย์ คลินิก ร้านยา

คำแนะนำในการปฏิบัติสำหรับผู้ใช้ยาที่มียาตำรับดังกล่าวข้างต้นที่มีการเรียกเก็บคืน

  1. นำยาไปเปลี่ยน ณ โรงพยาบาล คลินิก หรือสถานพยาบาลที่ได้รับการจ่ายยา
  2. หากยังไม่สามารถไปเปลี่ยนยาได้ในระยะนี ขออย่าได้หยุดการใช้ยา เนื่องจากผลิตภัณฑ์ยาวาลซาร์แทน (กลุ่ม Angiotensin II Receptor Blocker: ARB) เป็นยารักษาโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังที่มีความจำเป็นต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสารปนเปื้อนที่พบในผลิตภัณฑ์ยาดังกล่าว จากการศึกษาข้อมูลความปลอดภัยย้อนหลัง ยังไม่พบว่า ผู้ป่วยมีประเด็นการเกิดมะเร็งจากยานี้ที่ใช้วัตถุดิบจากจีน
  3. ผู้ป่วยที่เคยได้รับผลิตภัณฑ์ยาวาลซาร์แทนในการรักษามาอย่างต่อเนื่อง ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงตัวอื่น โดยยังคงสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ยาวาลซาร์แทน เลขทะเบียนตำรับอื่นที่ไม่มีการปนเปื้อนได้
    ทั้งนี้ ทะเบียนที่มีตัวยาสำคัญวาลซาร์แทน ที่ยังสามารถใช้ได้อยู่ ปัจจุบันรวมทุกความแรงมีจำนวน 38 ทะเบียนตำรับ แบ่งเป็นของผู้นำเข้า 31 ตำรับ และของผู้ผลิตในไทย 7 ตำรับ
  4. สามารถใช้ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ ในยายี่ห้ออื่นที่ไม่ใช่ใน 5 ตำรับดังกล่าว

คำแนะนำในการปฏิบัติสำหรับ แพทย์ คลินิก ร้านยา 

  1. ตรวจสอบยา เพื่อคืนยาให้แก่บริษัท นำไปทำลายต่อไป
  2. ตรวจสอบรายชื่อคนไข้ที่จ่ายยา และรีบติดต่อให้มาเปลี่ยนยา

ขอเชิญผู้เกี่ยวข้อง/ผู้สนใจติดตามรายละเอียด/ download เอกสารข่าวประชาสัมพันธ์ข้างต้น ได้จากเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (www.fda.moph.go.th) หรือกดที่ link ต่อไปนี้
ข่าวประชาสัมพันธ์
กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
วันที่ 16 กรกฎาคม 2561

ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

ด่วน!! อย. เรียกเก็บคืน “ยาวาลซาร์แทน (Valsartan)” 5 ตำรับ

ามที่มีการเรียกเก็บคืนผลิตภัณฑ์ยาวาลซาร์แทน (Valsartan) ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง ในประเทศต่างๆ  จากบริษัทผู้ผลิตซึ่งมีการใช้วัตถุดิบในการผลิตยาดังกล่าวของ บริษัท Zhejiang Huahai Pharmaceuticals เนื่องจากพบสารปนเปื้อนที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งในวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตยานั้น

ในประเทศไทย มีบริษัทผู้รับอนุญาตผลิต/นำหรือสั่งยาวาลซาร์แทนเข้ามาในราชอาณาจักร จำนวน 7 บริษัท และมีทะเบียนตำรับยาที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่าย จำนวนทั้งสิ้น 14 ตำรับ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า  มีบริษัทผู้รับอนุญาตที่ใช้วัตถุดิบจาก Zhejiang Huahai Pharmaceuticals เพียง 2 ราย ได้แก่ บริษัท สีลมการแพทย์ จำกัด และ บริษัท ยูนีซัน จำกัด ซึ่งมีเลขทะเบียนตำรับ รวม 5 ตำรับ ได้แก่

บริษัทผู้รับอนุญาต เลขทะเบียนตำรับ
บริษัท สีลมการแพทย์ จำกัด 1A 9/54 (NG)
1A 10/54 (NG)
บริษัท ยูนีซัน จำกัด 1A 4/60 (NG)
1A 5/60 (NG)
1A 6/60 (NG)

ขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ออกมาตรการเรียกเก็บคืนยาใน 5 ตำรับทุกรุ่นการผลิตคืนจากท้องตลาดภายใน 15 วัน พร้อมทั้งมีคำสั่งให้ผู้รับอนุญาตผลิตยาทั้งสองแห่ง ระงับการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาวาลซาร์แทนทุกทะเบียนที่มีการใช้วัตถุดิบวาลซาร์แทนจากแหล่งผลิตดังกล่าวเป็นการชั่วคราว รวมทั้งระงับการจำหน่ายเภสัชเคมีภัณฑ์วาลซาร์แทน ที่มาจากแหล่งผลิตดังกล่าวแล้ว

และได้ขอความร่วมมือผู้ใช้ยาตรวจสอบเลขทะเบียนตำรับของผลิตภัณฑ์ยาวาลซาร์แทนที่ใช้อยู่ หากตรงกับเลขทะเบียนตำรับข้างต้น ให้ส่งกลับคืนสถานพยาบาลหรือร้านยาที่จ่ายยาดังกล่าว เพื่อดำเนินการทำลายยาต่อไป อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่เคยได้รับผลิตภัณฑ์ยาวาลซาร์แทนในการรักษามาอย่างต่อเนื่อง ยังคงสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ยาวาลซาร์แทน เลขทะเบียนตำรับอื่นที่ไม่มีการปนเปื้อนสารก่อมะเร็งดังกล่าวได้ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงตัวอื่น

กดที่นี่เพื่ออ่านรายละเอียด/ download เอกสาร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 U.S.FDA announces voluntary recall of several medicines containing valsartan following detection of an impurity

 EMA reviewing medicines containing valsartan from Zhejiang Huahai following detection of an impurity

ที่มา: ข่าวประชาสัมพันธ์ กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา วันที่ 14 กรกฎาคม 2561
U.S.FDA News Release 13/7/2018
The European Medicines Agency (EMA) Press Release 5/7/2018

มีผล 14 กรกฎานี้!! ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2561

กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศ ณ วันที่ 29 มิถุนายน 2561 เรื่อง ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2561
ให้เพิ่มยาต่อไปนี้ เป็นยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน

 ยาบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอกและอาหารไม่ย่อย เนื่องจากกรดไหลย้อนชนิดเม็ด

 ยาบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอกและอาหารไม่ย่อย เนื่องจากกรดไหลย้อนชนิดน้ํา

ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนพิเศษ 166 ง วันที่ 13 กรกฎาคม 2561)

กดที่นี่เพื่ออ่านรายละเอียด/ download เอกสาร

ด่วน!! รับฟังความคิดเห็น (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 2 ฉบับ

ด้วยคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนประเภทยา มีมติเห็นชอบให้มีการปรับลดระดับ “ยาที่มีนิโคติน (Nicotine) หรือสารประกอบของนิโคติน ซึ่งมุ่งหมายที่จะใช้สำหรับช่วยการอดบุหรี่ รูปแบบหมากฝรั่งสำหรับเคี้ยว (chewing gum)” จาก “ยาอันตราย” เป็น “ยาที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ” และเห็นชอบเอกสารกำกับยาสำหรับประชาชนของยารูปแบบดังกล่าว (มติที่ประชุมฯ ครั้งที่ 1/2560 วันที่ 24 พฤศจิกายน 2560, ครั้งที่ 3/2561 ในวันที่ 24 เมษายน 2561 และ ครั้งที่ 4/2561 วันที่ 7 มิถุนายน 2561

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยสำนักยา จึงได้จัดทำ(ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 2 ฉบับ คือ

  • (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาอันตราย ฉบับที่ .. พ.ศ. 2561 
    เพื่อให้มีการปรับลดระดับ“ยาที่มีนิโคติน (Nicotine) หรือสารประกอบของนิโคติน ซึ่งมุ่งหมายที่จะใช้สำหรับช่วยการอดบุหรี่ รูปแบบหมากฝรั่งสำหรับเคี้ยว (chewing gum)” จาก “ยาอันตราย” เป็น “ยาที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ” และผู้รับอนุญาตฯ ที่ต้องการขอขึ้นทะเบียน หรือแก้ไขทะเบียนตำรับยาจะต้องยื่นคำขอฯ พร้อมกับเอกสารกำกับยาสำหรับประชาชนซึ่งมีรายละเอียดตามเอกสารท้ายประกาศ โดยเอกสารกำกับยาสำหรับประชาชนนี้ได้ผ่านการทดสอบ user testing แล้ว
  • (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาที่ต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยาและข้อความของคำเตือน ฉบับที่.. พ.ศ. 2561 
    เพื่อให้มีการยกเว้นว่าไม่ต้องใส่ข้อความคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับยาสำหรับเอกสารกำกับยาสำหรับประชาชน เนื่องจากคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนประเภทยาได้พิจารณาอนุญาตข้อความในเอกสารกำกับยาสำหรับประชาชน โดยมีการปรับข้อความจากคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับยาไปใส่ในหัวข้อต่างๆ ตามความเหมาะสม และเหมาะกับการใช้ยาโดยไม่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อให้ประชาชนทั่วไปซึ่งไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ เข้าใจได้ง่าย ใช้ยาได้อย่างถูกต้อง มีความปลอดภัย

และเปิดรับฟังความคิดเห็น (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว ทั้งนี้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถส่งความเห็น กลับไปยัง druglaw@fda.moph.go.th หรือ druglawfda@gmail.com ภายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2561

กดที่ link ต่อไปนี้ เพื่อศึกษารายละเอียด/ download เอกสารที่เกี่ยวข้อง