งานผู้ป่วยหลังคลอด

งานหลังคลอด   โรงพยาบาลบางปะกง
อำเภอบางปะกง  จังหวัดฉะเชิงเทรา  

บริบท ( Context )

  • ความมุ่งหมาย (Purpose)

                บริการผู้ป่วยในประเภทมารดาหลังคลอดและทารกหลังคลอด ตามมาตรฐานวิชาชีพให้ปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ๖ เดือนขึ้นไป

  • ขอบเขตบริการ (Scope of service)

งานบริการ

                งานหลังคลอด ให้บริการทางสูติกรรมตลอด ๒๔ ชั่วโมง ตามศักยภาพโรงพยาบาลทุติยภูมิระดับ F1  มีเตียงสามัญ ๘  เตียง ห้องพิเศษเดี่ยว ๓ ห้อง ให้บริการมารดาและทารกแรกเกิดหลังคลอด       ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ ๒๘ สัปดาห์ขึ้นไป ทั้งในรายที่คลอดปกติ คลอดผิดปกติ  ดูแลจนจำหน่ายกลับบ้าน 

ประเภทการคลอด คือ Normal labour(NL) , Cesarean section(C/S), Vacuum extraction(V/E), Forceps extraction(F/E) , Breech assisting, Birth before admittion(BBA)

ภาวะแทรกซ้อนมารดาหลังคลอด คือ Postpartum hemorrhage(PPH), Pregnancy induced hypertension(PIH), Gestational diabetes mellitus(GDM), Placenta previa, Premature rupture membranes(PROM) , HIV positive  , HBsAg positive  , covid pregnancy

ภาวะแทรกซ้อนทารก คือ ทารกคลอดก่อนกำหนด(Preterm), ทารกน้ำหนักต่ำกว่าหรือมากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ,ภาวะอุณหภูมิกายต่ำ(Hypothermia),ทารก On Incubator ,ทารกตัวเหลือง(Hyperbillirubinemia) , ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ(Hypoglycemia) , ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง(Hyperglycemia) , ภาวะเลือดข้น(Polycythemia) , ภาวะลิ้นติด(Tongue tie) , ภาวะ Fever, ภาวะ sepsis  เป็นต้น

ข้อจำกัด  ทารกแรกเกิดที่มีปัญหาต้องใส่ท่อช่วยหายใจ หรือที่มีปัญหาซับซ้อน เกินศักยภาพในการดูแลรักษา ต้องส่งต่อไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลพุทธโสธร 

ความท้าทาย และความเสี่ยงสำคัญของงานหลังคลอด

  • พัฒนาการดูแลการป้องกันการเกิดภาวะตกเลือดซ้ำของมารดาหลังคลอด
  • การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ๖ เดือนขึ้นไป
  • การส่งเสริมมารดาหลังคลอดเมื่อป่วยเป็นโรคโควิด-๑๙ และต้องให้นมมารดา
  • พัฒนากระบวนการดูแลทารกหลังคลอดที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ
  • พัฒนากระบวนการดูแลทารกหลังคลอดที่มีภาวะติดเชื้อ
  • พัฒนากระบวนการดูแลทารกหลังคลอดที่มีภาวะ Polycythemia โดยการเปลี่ยนถ่ายเลือดทารก
  • พัฒนากระบวนการดูแลทารกตัวเหลือง

การพัฒนาคุณภาพที่อยู่ระหว่างดำเนินการ

๑. การป้องกันการตกเลือดเกิน ๒ ชั่วโมงหลังคลอดซ้ำ
– จัดทำ CPG การป้องกันการตกเลือดหลังคลอดมาใช้ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งโรงพยาบาล
– จัดทำแบบประเมินความเสี่ยงของการตกเลือดหลังคลอด แบ่งเป็นระดับความเสี่ยง(สีแดง  สีชมพู สีเขียว)  เพื่อเฝ้าระวังและลดโอกาสเกิดซ้ำ
– ทบทวน วิเคราะห์สาเหตุของการตกเลือดหลังคลอดซ้ำ เพื่อเป็นการลดช่องว่างและแก้ไขปัญหาจากสาเหตุที่เกิดขึ้น
– การให้ความรู้ แก่พยาบาลน้องใหม่ มีพยาบาลพี่เลี้ยงจัดเวรคู่กับน้องในการขึ้นเวรปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด
– การนิเทศติดตาม ให้พยาบาลหลังคลอดทุกคนปฏิบัติตาม CPG การดูแลมารดาหลังคลอดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน 

๒. การพัฒนาบุคลากร
– การดูแลมารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอดร่วมกับสูติแพทย์ เพื่อปรับปรุงแก้ไขกระบวนการทุกปีอย่างต่อเนื่อง
– หลักสูตรการดูแลทารกแรกเกิดตาม Service plan(ระยะเวลา ๑ เดือน)
– หลักสูตรการดูแลทารกแรกเกิดเฉพาะทาง (ระยะเวลา ๔ เดือน)

แผนการพัฒนาต่อเนื่อง

๑. การบันทึกทางการพยาบาลแบบ Focus charting ให้ได้คุณภาพ ลดภาระงานของพยาบาล     เพื่อจะได้ใช้เวลาดูผู้ป่วยได้มากขึ้น
๒. การตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลในระบบ HosXP ตามมาตรฐาน  สปสช.
๓. การสร้างกลุ่มเครือข่ายมารดาหลังคลอด(ไลด์กลุ่ม) ที่คลอดในโรงพยาบาลบางปะกง เพื่อสร้างความมั่นใจและเป็นที่ปรึกษาในการดูแลตนเองและบุตรแก่มารดาหลังคลอด เมื่อกลับไปอยู่บ้าน
๔. การรณรงค์การฝังยาคุมกำเนิดในกลุ่มมารดาวัยรุ่นที่มาคลอดในโรงพยาบาลบางปะกงเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ ให้บรรลุเป้าหมาย ๘๐ %
๕. การจัดหาเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย เช่น เครื่อง Monitor ใช้กับมารดาและทารกที่ต้องมีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เพื่อติดตามความผิดปกติของมารดาและทารก อันนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
๖. การอบรมฟื้นฟูความรู้การช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิด(CPRทารก) ทุกปี

  • การอบรมเฉพาะทางทารกแรกเกิดวิกฤติ ๔ เดือน
  • การอบรมบุคลากรตามมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็ก
  • การส่งเสริมมารดาและทารกหลังคลอดให้ปลอดภัยจากโรคอุบัติใหม่

ผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑

19697_สรุปตัวชี้วัดงานหลังคลอดปี 61

ติดต่องานผู้ป่วยหลังคลอด  โทร ๐๓๘-๕๓๑๒๘๖-๗  ต่อ ๔๑๒

E-Mail : wanwilai4525@gmail.com