งานผู้ป่วยในชาย

[smartslider3 slider=21]

บริบท

งานผู้ป่วยในชายโรงพยาบาลบางปะกงให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วย ที่รับไว้นอนโรงพยาบาลอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพโดยเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ให้บริการแบบครบองค์รวม โดย ผู้ป่วยปลอดภัยและพึงพอใจ

ขอบเขตการบริการ :ให้บริการผู้ป่วยที่รับไว้นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่แรกเกิดขึ้นไปในผู้ป่วยทุกประเภททั้งผู้ป่วยศัลยกรรม   อายุรกรรม ทันตกรรม ซึ่งจะมีทั้งผู้ป่วยโรคเฉียบพลันและโรคเรื้อรัง มีเตียงรับผู้ป่วยสามัญ  25 เตียง ห้องพิเศษเดี่ยว 4 ห้อง ห้องแยกโรค 1ห้อง   ผู้รับบริการที่มีปัญหาซับซ้อนเกินศักยภาพในการดูแลรักษา จะได้รับการส่งต่อไปยัง รพ. พุทธโสธร

กลุ่มผู้รับบริการ: ผู้รับบริการส่วนใหญ่เป็นประชาชนในเขตอำเภอบางปะกง รองลงมาจะเป็นประชาชนมาจากอำเภอใกล้เคียง ต่างจังหวัดและต่างด้าว ซึ่งส่วนใหญ่มีสิทธิค่ารักษาเป็นกลุ่มหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า   รองลงมากลุ่มผู้ป่วยประกันสังคม ต่างด้าว ตามลำดับ

ความต้องการของผู้รับบริการ :ส่วนใหญ่ได้แก่ ได้รับการดูแลรักษาพยาบาลอย่างถูกต้อง รวดเร็วและ ปลอดภัย ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยจากแพทย์และพยาบาล  ความต้องการของญาติ ได้แก่  ความสะอาดทั่วไปและความสะดวกสบายขณะเฝ้าผู้ป่วย   ความต้องการของผู้รับบริการภายใน ต้องการการติดต่อประสานงานที่รวดเร็ว ถูกต้อง ชัดเจน ตามข้อกำหนด

ประเด็นคุณภาพที่สำคัญ : ให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยแบบองค์รวมอย่างถูกต้องต่อเนื่อง ปลอดภัย ตามมาตรฐานวิชาชีพและเกิดความพึงพอใจทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ

ศักยภาพและข้อจำกัดในด้านผู้ปฏิบัติงาน เครื่องมือและเทคโนโลยี : งานผู้ป่วยในชาย มีเตียงรับผู้ป่วย 30 เตียง เป็นเตียงสามัญ 25 เตียง ห้องพิเศษเดี่ยว 4 ห้อง  ห้องแยกโรค 1 ห้อง มีเจ้าหน้าที่ พยาบาลวิชาชีพ 9 คน ผู้ช่วยเหลือผู้ป่วย 4 คน

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่สำคัญในการให้บริการได้แก่ เครื่อง Defibrillator 1 เครื่อง    เครื่องวัดระดับออกซิเจนในเลือด  1 เครื่อง  เครื่อง Infusion Pump 6 เครื่อง  เครื่องวัดBP Dinamap 2 เครื่อง   เครื่องตรวจคลื่นหัวใจไฟฟ้า 1 เครื่อง

ความท้าทายความเสี่ยงสำคัญ(จุดเน้นการพัฒนา):ผู้ป่วยวิกฤตได้รับการประเมินและดูแลในเวลาที่เหมาะสม ปลอดภัยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังและผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้รับการดูแลแบบองค์รวมมีการวางแผนการดูแลตั้งแต่แรกรับจนจำหน่ายจากทีมสหสาขาวิชาชีพและพัฒนาศักยภาพบุคลากรในด้าน Competencyในการดูแลผู้ป่วยในโรคที่เป็นจุดเน้น( DM, HT,  ACS, Palliative care,Sepsis,Stroke)

ประเด็นการสร้างสุขภาพที่สำคัญ: ด้านผู้ป่วย มุ่งเน้นการให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับโรคที่เป็น แจกเอกสาร แผ่นพับให้ผู้ป่วยและญาติ แนะนำการดูแลตนเอง และอาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์ทุกรายที่จำหน่าย โดยจัดทำจากโรคที่มีความเสี่ยงสูงและโรคที่เป็น TOP5 ของหน่วยงาน ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง DM,HT,Asthma,COPD,Strokeได้รับการวางแผนการดูแลร่วมกันระหว่างผู้ป่วยผู้ดูแลกับทีมสหสาขาวิชาชีพ

ด้านบุคลากร ผู้ให้บริการ:มีการส่งเจ้าหน้าที่อบรมวิชาการทั้งภายในรพ.และภายนอกรพ. โดยเจ้าหน้าที่จะได้รับการอบรมวิชาการตามโรคที่ตนเองรับผิดชอบและเรื่องที่น่าสนใจในการพัฒนาศักยภาพในการดูแลผู้ป่วย

ด้านสถานที่: มีการปรับปรุงหอผู้ป่วยให้เป็นสัดส่วน โดยจัดมุมสำหรับสงฆ์อาพาธ

         

อัตราค่าบริการ ค่าห้องพิเศษเดี่ยววันละ 1,500 บาท

Motor power ตั้งแต่แรกรับจากพยาบาลในตึกและจากนักกายภาพพร้อมทั้งจัดทำแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย CVAและStroke โดยมีการทำ active passive exercise เวรเช้าเป็นนักกายภาพบำบัดและเวรบ่าย NAและมีระบบการฝึกทักษะผู้ดูแล พร้อมประเมินผลการดูแลก่อนจำหน่ายทุกราย

2.2. การป้องกันการเกิดแผลกดทับ   ในปี2560 พบอัตราการเกิดสูงขึ้นกว่าเดิม โดยเกิดขึ้นที่หูผู้ป่วยนอนติดเตียงจากการตรวจสอบไม่ละเอียด ทางหน่วยงานจึงเพิ่มเติมในการตรวจสอบให้ละเอียดและปฎิบัติตามแนวปฏิบัติที่วางไว้

2.3. การป้องกันผู้ป่วยเด็กชักจากไข้ขณะนอนในโรงพยาบาล ในปี 2259 พบผู้ป่วยเด็กชักจากไข้ร้อยละ 2.43 โดยได้ทำตามระบบที่วางไว้ทุกขั้นตอนแล้ว จากการวิเคราะห์สาเหตุพบว่า เป็นผู้ป่วยเด็กที่เคยชักมาแล้ว 2 ครั้งและชักทั้งๆที่มีไข้ต่ำๆ37.5  จึงวางแนวทางเพิ่มกับกุมารแพทย์ เพิ่มเรื่องการให้ยาลดไข้ได้ทันทีในผู้ป่วยเด็กที่มีไข้ 37.5ในรายที่มีการชักมามากกว่า 2 ครั้ง ปี 2560 พบการเกิด ร้อยละ 4.16 จากการปฏิบัติตามแนวทางทุกขั้นตอนแล้ว จึงเพิ่มเรืองการเฝ้าระวังเพิ่มเติม

2.4 การเฝ้าระวังผู้ป่วยพลัดตกหกล้ม มีการประเมินผู้ป่วยทุกเวรโดยแบบประเมินความเสียงต่อการพลัดตกหกล้ม ( Morse Fall Scale) มีการแขวนป้ายเตือนที่ชัดเจนและEmpowermentผู้ดูแลในรายที่มีความเสี่ยงสูงมากกว่า 51 คะแนน และเพิ่มการเฝ้าระวังคัดกรองการพลัดตกหกล้มเพิ่มในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปี โดยใช้คำถาม ในรอบปีที่ผ่านมาเคยหกล้มหรือไม่ หากพบว่าเคยให้ส่งคัดกรองโดยทีมผู้สูงอายุ

  1. ระบบการบริหารยาแบบ One Day Dose จัดทำประกันคุณภาพความคลาดเคลื่อนทางยา มีระบบดักจับการรับคำสั่งผิด จ่ายยาผิดเวลา ยาหมดอายุ ให้ความระมัดระวังสูงในผู้ป่วยที่ได้รับยา High Alert Drug การเฝ้าระวังติดตามอาการไม่พึงประสงค์และข้อบ่งชี้ในการหยุดยาและรายงานแพทย์ มีระบบการป้องกันการแพ้ยาซ้ำในปี2560 พบอัตราการลืมเซ็นต์ยาร้อยละ 25.55 การจัดแจกยากินผิดชนิดลดลง 0.14 ผิดเวลาลดลง 3.03 พบจัดแจกยากินผิดคน  ทางหน่วยงานจึงมีการทบทวนระบบ และทำ CQI เรื่องยา  6 R  เพื่อพัฒนาความคลาดเคลื่อนทางยาต่อเนื่อง
  2. ระบบการประเมินผู้ป่วย กำหนดให้มีการประเมินตามการแบ่งประเภทผู้ป่วย และเพิ่มการประเมินเฉพาะโรคตามแบบฟอร์มรายโรค ได้จัดทำคู่มือการแบ่งประเภท ชี้แจงอบรม ผลการแบ่งประเภทผู้ป่วยถูก เพิ่มจาก 68 % เป็น 72.3% ปี2560 พบผู้ป่วยเบาหวานเกิดภาวะ Hypoglycemia ขณะรับการรักษา ทางหน่วยงานได้สร้างระบบการประเมินผู้ป่วยเกิดภาวะ Hypoglycemia ขณะรับการรักษาในผู้ป่วย เบาหวาน

5.ระบบการดูแลผู้ป่วย  จัดระบบการดูแลดังนี้

5.1.ระบบการดูแลผู้ป่วยวิกฤต/กึ่งอันตราย

5.2. แนวทางในการดูแลผู้ป่วย Head injury ,Pneumonia,AGE

5.3.ระบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง/ผู้ป่วยที่ปรับตัวกับภาวะของโรคไม่ได้/ผู้ป่วยที่หมดทางรักษา รู้สึกท้อแท้ เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง

5.4. ระบบการดูแลผู้ป่วยถูกทอดทิ้งญาติไม่ดูแลและหาญาติไม่ได้

5.5. การดูแลผู้ป่วยเรื้อรังได้แก่ ผู้ป่วย DM HT COPD และโรคหัวใจ

  1. การวางแผนจำหน่ายและการ Empowerment มีการประเมินและวางแผนดูแล ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังและเฉียบพลัน

4.2. การพัฒนาคุณภาพที่อยู่ระหว่างการดำเนินงาน

  1. การวางแผนจำหน่าย ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

1.1.การวางแผนการจำหน่ายโดยทีมสหสาขาวิชาชีพในผู้ป่วยเรื้อรังได้แก่โรค DM, HT,CHFและ Palliative Care

1.2. การดูแลผู้ป่วย Palliative care

1.3. การดูแลผู้ป่วย เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ให้ได้รับโปรแกรมการดูแลโดยใช้ 3 อ. 2  ส.

  1. การทบทวนอุบัติการณ์สำคัญในการทบทวน 12 กิจกรรม

มีการทบทวนและประชุมปรึกษาร่วมกันก่อนการปฏิบัติงานการประชุมประจำเดือน  Conference caseโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ เดือนละ 2 ครั้ง

  1. การส่งเสริมสุขภาพผู้รับบริการ กิจกรรมที่จัดได้แก่

-ฝึกการหายใจแบบไทเก๊กและ Breathing Exercise ให้กับผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจได้แก่ Pneumonia Asthma ผู้ป่วยหลังผ่าตัด

-ดนตรีบำบัด มีการให้บริการซีดี วิทยุเทป ม้วนเทป ซาวอเบาท์ แก่ผู้ป่วยผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะสุดท้าย

– จัดบอร์ดให้ความรู้ ในโรคสำคัญและที่เป็นปัญหาในขณะนั้น

– มุมให้ความรู้เรื่องเบาหวาน และจัดทำสื่อ เพื่อเผยแพร่ความรู้

-สอนสุขศึกษาทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มโรคเบาหวานความดันโภชนากรจะเป็นผู้ให้ความรู้แบบใช้ โมเดลอาหารผู้ป่วยและญาติจะให้ความสนใจ

–  การจัดนิทรรศการตามวันสำคัญ เช่น วันสูบบุหรี่โลก  วันเอดส์โลก วันเบาหวานโลก วันวัณโรค

  1. การพัฒนาศักยภาพบุคลากร มีการกำหนดสมรรถนะหลักของบุคลากร 5 ด้านสอดคล้องกับโรงพยาบาล สมรรถนะเชิงวิชาชีพและคุณลักษณะของบุคลากรที่สอดคล้องกับโรค/ความเสี่ยง การพัฒนาศักยภาพบุคลากรในหน่วยงาน
  2. การส่งเสริมสุขภาพบุคลากร

แผนการพัฒนาต่อเนื่อง
1.โครงการพัฒนาจำนวนวันนอนเฉลี่ยไมเกินDRGในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังCOPD , CVA ,HIV,TB,DM
2.โครงการเพื่อนอาสาข้างเตียง
3.การส่งเสริมดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคStroke
4.พัฒนาระบบการบันทึกทางการพยาบาลและความสมบูรณ์ของเวชระเบียน
5.สร้างโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในโรค DM,HT,CHF
6.สร้างโปรแกรมการฝึกบริหารจิตโดยSKT ในผู้ป่วยเบาหวาน

ผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑

192580_KPI__ward ชาย2561

ติดต่องานผู้ป่วยในชาย โทร ๐๓๘-๕๓๑๒๘๖-๗  ต่อ ๔๓๑,๔๓๓

E-Mail : tuibpk@hotmail.com